การวิเคราะห์พื้นที่ที่เหมาะสมสําหรับการปลูกยางพาราตามปัจจัยสภาพภูมิอากาศด้วยวิธีการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: พรทิพย์ เดชพิชัย* กัญญาวีร์ ศาสนอนันตกุล ธัญชนก ชัยกูล และ บิลกีส วงษ์พิรา.
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
หน้าแรก: 337
หน้าสุดท้าย: 346
จำนวนหน้า: 10
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกยางพารา โดยใช้ปัจจัยสภาพภูมิอากาศจากตัวแบบ CCAM ปี คศ. 2021-2025 ได้แก่ ปริมาณน้ําฝน ความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิเฉลี่ย อุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ําสุด และข้อมูลชุดดิน ซึ่งประกอบด้วย ความอุดมสมบูรณ์ ลักษณะดิน ค่าความเป็น กรด-ด่าง และประเมินความเหมาะสมในภาพรวมด้วยเทคนิคเรียงลําดับตามอุดมคติ (TOPSIS) เพื่อหาพื้นที่ที่ เหมาะสมในการปลูกยางพารา และแสดงผลเชิงพื้นที่ด้วยโปรแกรม ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร: (GIS) ผล การศึกษาพบว่าสามารถจําแนกพื้นที่เหมาะสมสําหรับปลูกยางพาราปีค.ศ. 2021-2025 ในระดับมาก ปานกลาง เล็กน้อย และไม่เหมาะสม คิดเป็น ร้อยละ 9.68, 15.32, 4.03 และ 70.97 ตามลําดับ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ เหมาะสมสําหรับการปลูกยางพาราจะอยู่ในบริเวณภาคใต้ ซึ่งพื้นที่บริเวณรอบ ๆ 10 สถานีตรวจวัดอากาศ ต่อไปนี้มีความเหมาะสมที่สุด คือ สนามบินตรัง สตูล เกาะลันตา กระบี่ สนามบินพุนพิน ระนอง ปราจีนบุรี ชุมพร สถานีอุตุนิยมวิทยาการเกษตรสวี และเกาะสมุย ผลจากการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการ เลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพสําหรับปลูกยางพาราในอนาคต
การวิเคราะห์พื้นที่ที่เหมาะสมสําหรับการปลูกยางพาราตามปัจจัยสภาพภูมิอากาศด้วยวิธีการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์2. กิตตินันท์ ชุ่มรักษา ธรรมนูญ วะดีศิริศักดิ์ และ พรทิพย์ เดชพิชัย*. (2564). “การพยากรณ์การสั่งซื้อผลิตภัณฑ์อะไหล่ทองเหลือง”,
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง