การวิเคราะห์กลุ่มข้อมูลผสมและการวิเคราะห์พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว
Poster
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Niracha Srithaworn, Punyaporn Treeanekchai, Porntip Dechpichai
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
หน้าแรก: 92
หน้าสุดท้าย: 94
จำนวนหน้า: 3
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลุ่มเชิงพื้นที่ตามปัจจัยสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวโดยใช้ปัจจัยสภาพภูมิอากาศจากตัวแบบ CCAM ปีค.ศ. 2021-2025 และศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวในอนาคตโดยใช้ข้อมูลชุดดินปีพ.ศ. 2561 ร่วมกับปัจจัยสภาพภูมิอากาศ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ปริมาณน้ำฝน ความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิเฉลี่ย อุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ำสุด ด้วยวิธีการ K-means for joint Longitudinal data (KmL3D) และใช้เกณฑ์ของ Calinski & Harabasz, Kryszczuk variant สำหรับกำหนดจำนวนกลุ่มที่เหมาะสม และตรวจสอบความเหมาะสมในการจัดกลุ่มด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน ด้วยโปรแกรม R-project ส่วนการวิเคราะห์พื้นที่ที่เหมาะสมใช้ วิธีการรวมแบบถ่วงน้ำหนักอย่างง่ายร่วมกับกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น และใช้การประมาณค่าระยะทางกลับโดยน้ำหนักเพื่อแสดงผลเชิงพื้นที่ด้วยโปรแกรมสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (QGIS)
ผลการวิเคราะห์กลุ่มพบว่า จำนวนกลุ่มที่เหมาะสมสำหรับการจัดกลุ่มสถานีตรวจวัดอากาศคือ 6 กลุ่ม โดยพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของกลุ่ม A, B, C, D, E และ F อยู่ในภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลาง และ ภาคเหนือ คิดเป็นร้อยละ 57.14, 96.30, 100, 42.86, 42.86 และ 66.67 ตามลำดับ โดยมี ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำฝนในแต่ละกลุ่มคือ 1.87, 6.04, 1.94, 2.52, 2.02 และ 3.75 มม./วัน ตามลำดับ ส่วนผลการวิเคราะห์พื้นที่ที่เหมาะสมพบว่า ทุกภูมิภาคในประเทศไทยไม่มีพื้นที่ใดไม่เหมาะสม และพื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าวในระดับเหมาะสมมาก ปานกลาง และน้อยคิดเป็นร้อยละ 8.87, 70.97, 20.16 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาร่วมกับผลการจัดกลุ่ม พบว่า กลุ่ม A, B, C, D, E และ F มีพื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าวในระดับเหมาะสมมาก คิดเป็นร้อยละ 36.36, 0, 9.09, 45.45, 9.09 และ 0 ตามลำดับ
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง