ผลกระทบของระยะเวลาการให้ความร้อนและความถี่ของการกวนสำหรับเครื่องกำจัดเศษอาหาร
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Wongsawan Tanwangprong and Purit Thanakijkasem
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
หน้าแรก: 285
หน้าสุดท้าย: 291
จำนวนหน้า: 7
URL: https://www.pcc.kmitl.ac.th/iambest/
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาการให้ความร้อนและความถี่ของการกวนเศษอาหารที่เหมาะสมเพื่อใช้ในเครื่องกำจัดเศษอาหารในครัวเรือนให้เป็นปุ๋ย โดยใช้เศษอาหารจำลองประกอบด้วย ข้าวสุก : หมูต้มสุก : โครงกระดูกไก่ทอด : ผักสด : เปลือกกล้วย ในอัตราส่วนโดยน้ำหนัก 1:1:1:1:1 รวม 1 กิโลกรัม การใส่เศษอาหารครั้งแรกจะใส่เศษอาหารจำลอง ผสมกับใบไม้แห้ง ปริมาณ 300 กรัม ร่วมกับจุลินทรีย์ (สารเร่งซุปเปอร์ พด.1) ในอัตราส่วน 30 กรัม ต่อน้ำ 250 มิลลิลิตร ใส่เศษอาหารจำลองทุก 2 วัน จนครบ 21 วัน ผสมในถังหมักขนาด 20 ลิตร ให้ความร้อนเพื่อควบคุมอุณหภูมิภายนอกถังหมักให้อยู่ที่ 40 องศาเซลเซียส โดยมีอัตราระยะเวลาการให้ความร้อนแก่ถังหมักได้แก่ ไม่ให้ความร้อน, 24 ชั่วโมง และตลอดการทดลอง ความถี่การกวนเศษอาหารได้แก่ 1 ครั้งต่อวัน และ 12 ครั้งต่อวัน จากผลการทดลองพบว่าระยะเวลาการให้ความร้อนที่ดีที่สุด คือ ให้ตลอดกระบวนการหมัก ขณะที่ถ้าควบคุมอุณหภูมิตลอดกระบวนการแล้วความถี่ของการกวนเศษอาหาร 1 ครั้งต่อวัน และ 12 ครั้งต่อวัน ให้ผลใกล้เคียงกัน แต่ถ้าไม่มีการให้ความร้อนแก่ถังหมักแล้วความถี่ของการกวนเศษอาหารจะมีผลต่อตัวอย่าง ตัวอย่างที่ดีที่สุดมีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 6.5 – 8 ขนาดอนุภาคของปุ๋ยสามารถผ่านตะแกรงขนาดน้อยกว่า 12x12 มิลลิเมตร ลักษณะทางการภายภาพที่ได้มีลักษณะร่วน สีดำคล้ายดิน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ นอกจากนี้พบว่าตัวอย่างมีค่าไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ในปริมาณที่สูง
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง