การใช้ชีวมวลผสมเชื้อเพลิงขยะ (RDF) ในโรงไฟฟ้าและปัญหา

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งThitima Boodkaew, Chullapong Chullabodhi and Prattana Kaewpet

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

หน้าแรก91

หน้าสุดท้าย99

จำนวนหน้า9

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

ปัจจุบันชีวมวลขาดแคลนและมีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทําให้เชื้อเพลิง RDF ซึ่งมีค่าความร้อนสูงกว่าและมีปริมาณไม่จํากัด จึงเป็นเชื้อเพลิงที่ได้รับความสนใจจากโรงไฟฟ้าชีวมวล แต่มีการใช้ในวงจํากัดเท่านั้นในปัจจุบัน เหตุผลอาจเป็นเพราะ
ผู้ใช้ยังไม่คุ้นเคย และเพราะประสบปัญหาการต่อต้านจากชุมชนในประเด็นของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากประเด็นที่กล่าวข้างต้น งานวิจัยนี้จึงศึกษาตรวจสอบหาความเหมาะสมและปัญหาของการใช้ชีวมวลผสมเชื้อเพลิง RDF ในโรงไฟฟ้าชีวมวล ทั้งทางด้านเทคโนโลยีการเผาไหม้ ต้นทุนการผลิตไฟฟ้า สิ่งแวดล้อม และนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปและชี้แจงประเด็นต่างๆ เหล่านี้ รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จากการศึกษาพบว่า การใช้ชีวมวลกับเชื้อเพลิง RDF เป็นเชื้อเพลิงผสม ทางด้านการเผาไหม้สามารถดําเนินการและใช้เตาเผาไหม้แบบเดียวกับเชื้อเพลิงชีวมวล สิ่งที่ต้องระมัดระวัง คือ เชื้อเพลิง RDF มีองค์ประกอบของซัลเฟอร์สูง ทําให้ SO2 มีการปลดปล่อยสูงกว่าโรงไฟฟ้าชีวมวลปกติ การควบคุมมลพิษสามารถทําได้เหมือนโรงไฟฟ้าชีวมวลและขยะทั่วไป การใช้เชื้อเพลิง RDF ผสม ทําให้ต้นทุนด้านเชื้อเพลิงต่ําลงซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าได้ ปัญหาส่วนใหญ่เกิดขึ้นมาจากการไม่กําหนดอัตรารับซื้อที่เฉพาะเจาะจง รวมถึงขั้นตอนการขออนุญาตจัดตั้ง ยังคงต้องดําเนินการเหมือนโรงไฟฟ้าชีวมวลปกติซึ่งควรมีการผ่อนปรนเหมือนโรงไฟฟ้าขยะปกติ มาตรฐานการปลดปล่อยมลพิษยังไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และควรมีการกําหนดค่ามาตรฐานการปลดปล่อยที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ชีวมวลผสมเชื้อเพลิง RDF ที่กว้างขวางมากขึ้น และสอดคล้องกับนโยบายขยะที่เป็นวาระแห่งชาติ


คำสำคัญ

เชื้อเพลิงกากตะกอน, การสร้างมูลค่าเพิ่ม, พลังงานจากของเสีย, การเผาร่วม, พลังงานชีวภาพ, sludge-derived fuel, value added, waste-to-energy, co-firing, bioenergy


อัพเดทล่าสุด 2022-14-09 ถึง 23:05