ภายใน. ความทรงจำ – ออนไลน์
อื่นๆ
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: ภาณุ แสง-ชูโต
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
ผลงานสร้างสรรค์เป็นผลลัพธ์และผลผลิต (ตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยข้อที่ 3) จากโครงการวิจัยและการสำรวจเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเรื่อง “ประสบการณ์การจัดชั้นเรียน รายวิชาภาพยนตร์ ที่เน้น Project-based โดยจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน Hybrid Learning” เป็นการวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research) โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อได้ข้อค้นพบ (ข้อมูลและรายเอียด) จากการทำวิจัยในชั้นเรียน ผ่านรายวิชาภาพยนตร์ และได้ข้อค้นพบประสบการณ์จากการจัดชั้นเรียนออนไลน์ แบบผสมผสาน Hybrid Learning ที่เน้นการเรียนรู้ในลักษณะแบบ Project-based โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้วยแนวความคิด KSA (ความรู้ ทักษะ และทัศนะคติ) 2.เพื่อนำปัญหาจากข้อค้นพบ ในการสอนรายวิชาภาพยนตร์ นำกลับมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพ ออกแบบวิธีการเรียนการสอน การวัดประเมินผล และกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ที่ร่วมกันคิดปรับไปพร้อมกับนักศึกษา เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประสิทธิภาพของการจัดชั้นเรียน ตามแนวทาง OBE : Outcomes Based Education 3.เพื่อนำผลที่ได้จากการวิจัยนำมาเป็นกรอบใช้ในการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานวิดีโอศิลปะเรื่อง ภายใน. ความทรงจำ – ออนไลน์ ซึ่งตัวผลงานเป็นไปตามระเบียบขั้นตอน ของกระบวนการผลิตและแนวคิด ศิลปะภาพยนตร์และวิดีโอศิลปะ
ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ขอบเขตของการวิจัย ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ผ่านกลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาสาขาวิชาเอกภาพยนตร์และภาพเคลื่อนไหว หลักสูตรมีเดียอาตส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ชั้นปีที่ 2 และ 3 ระหว่างปี พ.ศ.2563-2565 (ภาคเรียนที่ 1 และ 2 รวมทั้งหมด 5 เทอม) จำนวนชั้นเรียนทั้งหมด 9 ชั้นเรียน จำนวนนักศึกษาที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 360 คน และขอบเขตด้านเนื้อหาของรายวิชาภาพยนตร์ มีจำนวนรวม 3 วิชา ที่เน้นการจัดการเรียนรู้ในแบบ Project-based คือ 1.FMI 220 วิชาพื้นฐานภาพยนตร์และภาพเคลื่อนไหว (Fundamentals of Moving Image) 2. FMI 221 วิชาการเล่าเรื่อง (Storytelling) และ3. FMI 320 วิชาการวิเคราะห์ภาพยนตร์ (Film Analysis) มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียน ประกอบด้วยชุดคำถาม เขียนตอบถึงประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียนในสัปดาห์นั้นๆ ชุดคำถามที่ถามถึงปัญหาการเรียน ความรู้สึก และความต้องการของผู้เรียนในระหว่างที่เรียน ชุดเครื่องมือการให้กลุ่มเป้าหมายประเมินตนเอง โดยใช้รูปแบบการให้ระดับคะแนน Rating Scale วัดประเมินผลความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาภาพยนตร์ที่เรียน วัดประเมินให้คะแนนการปฏิบัติทำงานเป็นกลุ่มของผู้เรียนเองและประเมินของกลุ่มเพื่อนร่วมชั้นเรียน เครื่องมือที่สำคัญที่สุด คือการวัดประเมินจากผลผลิต หรือชิ้นผลงานปลายภาคการศึกษา ที่จะสามารถสะท้อนสรุปให้เห็นถึงกระบวนการและแนวความคิดที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ ฝึกปฏิบัติมาตลอด 15 สัปดาห์หรือตลอด 1 ภาคเรียนการศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า สามารถนำปัญหาหรือข้อค้นพบที่สะท้อนมาจากผู้เรียนทั้งหมด วิเคราะห์ผ่านประเด็นความต้องการและความรู้สึก ปรับให้ยืดหยุ่นตามการรับรู้ของผู้เรียน ที่แสดงผ่านระดับคะแนนประเมิน ทำให้ผู้สอนได้เห็นถึงความก้าวหน้าของการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ ผู้สอนสามารถปรับวิธีการสอนได้ทันที โดยที่ยังเน้นการเรียนรู้ เข้าใจได้ด้วยจากการลงมือปฏิบัติทำผ่านโครงงาน Project Based Learning อีกทั้งผู้เรียนมีความต้องการให้มีสื่อหรือชุดคู่มือสำหรับประกอบการสอน ที่เข้าใจง่ายเพื่อใช้ทบทวนบทเรียน ประสบการณ์การจัดชั้นเรียน รายวิชาภาพยนตร์ ที่เน้น Project-based จัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน Hybrid Learning ได้ด้วยกระบวนการ PDCA และด้วยแนวคิด 3 เป็น คือ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น โดยวิเคราะห์สังเคราะห์ด้วยแนวคิด KSA (ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ) เพื่อตอบโจทย์ให้ผู้เรียนสามารถได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สัมฤทธิ์ผลได้
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง