สภาวะอารมณ์ความทุกข์ของจิตใต้สำนึกของข้าพเจ้า

อื่นๆ


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งManat Gavyota

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

หน้าแรก128

หน้าสุดท้าย128

จำนวนหน้า1

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

ที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์

ที่มา การดำเนินชีวิตในสังคมเมืองปัจุบันชึ่งอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์และเงื่อนไข้ต่างๆทำให้เรามีแนวโน้มที่จะปฎิเสธตัวตนของตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆข้อบกพร่องไม่สมบูรณ์เต็มไปด้วยความรู้สึกคิดลบในเหตุการณ์ปัจุบันเกิดสถาวะอารมณ์ความทุกข์ในจิตของตัวเองอย่างมาก

ความสำคัญ สถาวะอารมณ์ความทุกข์ของจิตใต้สำนึกเพราะสภาวะความรู้สึกในทางลบเหล่านี้ไม่ได้ถูกจำกัดไปอย่างแท้จริงแต่กลับถูกเก็บกดและสะสมไว้ในจิตใต้สำนึกโดยไม่รู้ตัวช่วยในการกระตุ้นให้เกิดจินตนาการสภาวะความทุกข์ของจิตใต้สำนึก สภาวะนี้นำมาเป็นเนื้อหาสาระหลักในผลงานชุดนี้ 

วัตถุประสงค์  เพื่อสะท้อนประสบการณ์สภาวะสังคมของข้าพเจ้าจากจิตใต้สำนึกความทุกข์ และอารมณ์ความรู้สึกที่มีผลต่อมุมมองในจิตใจ สะท้อนความรู้สึกภายในและภายนอกของความรู้สึกส่วนตัว เพื่อนำเสนอผลงานการสร้างสรรค์จิตกรรมนามธรรม โดยการเผยแพร่ให้สาธารณชนได้สัมผัส รับรู้ถึงคุณค่าทางสุนทรียภาพทางด้านทัศนศิลป์ สภาวะอารมณ์ความทุกข์ของจิตใต้สำนึกของข้าพเจ้า

          แนวความคิด กระบวนการสร้างสรรค์

แนวความคิด จิตรกรรมนามธรรมสามารถสร้างสรรค์แสดงออกถึงสภาวะอารมณ์ความทุกข์ของจิตใต้สำนึก ในสภาวะหนึ่งของจิตใจที่มีลักษณะเป็นนามธรรมอารมณ์ความรู้สึกภายในจิตใจที่เกิดจากสภาพของสังคมจนสามารถสร้างแรงกระตุ้นในจิตใจทำให้ความรู้สึกทุกข์เกิดจินตนาการของจิตใจลึกๆการนำเสนอสภาวะอารมณ์ความทุกข์ของจิตใต้สำนึก เพื่อกระตุ้นให้เกิดจินตนาการและความรู้สึกถึงวิถีความรู้สึกภานในภาคนอก

กระบวนการการสร้างสรรค์ ได้ค้นคว้า ศึกษา ทดลองเทคนิคของการยอดสี เทสี ราดสี โดยสีอะคริลิคกับดินสอพอง ตามการทดลอง กลวิธีของปฎิกิริยาทางเทคนิคเพื่อให้สื่อทั้งด้านความหมายของเนื้อหาเรื่องราวแสดงออกถึงสภาวะอารมณ์ความทุกข์ของจิตใต้สำนึก ก่อเกิดรูปร่างรูปทรงอิสระของจิตใต้สำนึก ตามหลักการทางทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์ น้ำหนักสี พื้นผิว แทนความรู้สึกทางด้านอารมณ์ รูปร่างรูปทรงแทนความทุกข์ของจิต ต่างๆตามแนวทางทดลอง

สรุปอภิปรายผลของการสร้างสรรค์

อารมณ์สภาวะจิตใต้สำนึกความรู้สึกที่ข้าพเจ้าสัมผัสสภาวะเหล่านั้น การใช้หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์สื่อเป็นภาษาภาพที่จะแสดงออกให้เห็นความจริงเหล่านั้น จากจิตใต้สำนึกกลายเป็นนามธรรมใหม่ โดยลดทอนความเหมือนจริงแต่สร้างรูปร่างรูปทรงและประสานสัมพันธ์กันอย่างลงตัว เกิดความสมบูรณ์อย่างเหมาะสม จิตรกรรมนามธรรม ชื่อผลงาน “สภาวะอารมณ์ความทุกข์ของจิตใต้สำนึก”นี้ได้สรุปกระบวนการทำงานและความคิดให้สอดคลองกับเนื้อหามีจุดเชื่อมโยงกันกลายเป็นรูปแบบนามธรรมที่แสดงบุคลิกอุปนิสัย และตัวตนที่มีลักษณะเฉพาะตนเอกสารประกอบด้วย ข้อมูล ความคิดกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาผลงาน เพื่อให้ตรงตามจุดมุ่งหมายและเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาค้นคว้าและตัวตนของข้าพเจ้า


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2022-22-11 ถึง 23:05