ความไม่สอดคล้องด้านการรู้คิดของอาจารย์กับการเรียนการสอนที่มุ่งผลล้พธ์
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Chantima Pathamathamakul
ผู้เผยแพร่: สำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
ชื่อย่อของวารสาร: JEIL
Volume number: 2
Issue number: 1
หน้าแรก: 15
หน้าสุดท้าย: 34
จำนวนหน้า: 20
นอก: 2773-9090
eISSN: 2773-9104
URL: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/255602
ภาษา: English-United States (EN-US)
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ใช้กรอบทฤษฎีความไม่สอดคล้องด้านการรู้คิด (Cognitive Dissonance) เพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ปรับการเรียนการสอนตามแนวทางของการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education, OBE) การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและจัดกลุ่มเนื้อหา กลุ่มตัวอย่างคืออาจารย์จำนวน 9 คนที่ใช้หลักการ Constructive Alignment ในการออกแบบการเรียนการสอนในระดับรายวิชา ผลการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่าอาจารย์มีความไม่สอดคล้องด้านการรู้คิดใน 3 ด้าน คือ ทัศนคติของผู้เรียนต่อการเรียนเพื่อสอบ ปัญหาทางเทคนิคและการปฏิบัติเมื่อใช้เกณฑ์การให้คะแนนหรือรูบริคในการประเมินการเรียนรู้ และการปฏิบัติตามระบบการตัดเกรด ผลการวิจัยชี้ว่าความเชื่อของอาจารย์ต่อ OBE ในแนวทางของ Transformational approach ส่งผลต่อการเกิดภาวะความไม่สอดคล้องกันดังกล่าว และแม้อาจารย์มีแรงจูงใจของตนที่ทำให้พยายามและมุ่งมั่นในการเปลี่ยนแปลง อาจารย์มีความคาดหวังในระดับสูงว่าการเรียนการสอนแบบ OBE จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติได้ด้วยการสนับสนุนจากนโยบายในระดับสถาบัน จากภาวะความไม่สอดคล้องใน 3 ด้านที่พบในอาจารย์กลุ่มตัวอย่าง สถาบันมีบทบาทอย่างมากในการสร้างภาวะความสอดคล้องให้เกิดขึ้น โดยขับเคลื่อนหลักการสำคัญของ OBE ที่ระดับหลักสูตรและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องจากระดับนโยบาย
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง