ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างระดับจุลภาคและสมบัติเชิงกลของไม้บางชนิด
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Khanjanaporn Whanpueth;Pornpimol Wachiranimit;Warratas Nirasratom;Siriganya Kampanthong;Nant Nammahachak;Ooraphan Chirayutthanasak;Nattarat Kengkla;Manisara Phiriyawirut;Pijarn Jornsanoh;Sarawut Cheunkar;Sutatch Ratanaphan
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2021
Volume number: 44
Issue number: 3
หน้าแรก: 395
หน้าสุดท้าย: 408
จำนวนหน้า: 14
นอก: 0125-278X
URL: https://digital.lib.kmutt.ac.th/journal/loadfile.php?A_ID=993
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างระดับจุลภาคและสมบัติเชิงกลของไม้ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย 4 ชนิด ได้แก่ ไม้สน ไม้ยางพารา ไม้สัก และไม้แดง คณะผู้วิจัยเลือกใช้เทคนิคจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดในการตรวจสอบโครงสร้างระดับจุลภาคของไม้แต่ละชนิด และเปรียบเทียบรูปแบบการจัดเรียงตัวของเซลล์ท่อลำเลียงของไม้กับค่าความหนาแน่น ค่าโมดูลัสของการแตกหัก และค่าความแข็งของไม้ จากผลการวิจัย พบว่า ไม้แต่ละชนิดประกอบไปด้วยกลุ่มเซลล์ที่มีรูพรุนจัดเรียงตัวเข้าด้วยกันเป็นเนื้อไม้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่มีรูปแบบการกระจายตัวของขนาดเซลล์ที่แตกต่างกัน โดยการกระจายตัวของขนาดเซลล์ของไม้สนเป็นการแจกแจงแบบปกติ ซึ่งแตกต่างจากกรณีของไม้ยางพารา ไม้สัก และไม้แดง ที่มีลักษณะการแจกแจงแบบทวินาม โดยในกรณีของการแจกแจงแบบทวินามนั้น ไม้แต่ละชนิดจะมีการจัดเรียงตัวของเซลล์ขนาดเล็กที่แทรกระหว่างเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ค่าความหนาแน่น ค่าโมดูลัสของการแตกหัก และค่าความแข็งของไม้แต่ละชนิดแตกต่างกันไปด้วย โดยความหนาแน่นของไม้สนมีค่าเป็น 0.51±0.02 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของไม้ยางพารา ไม้สัก และไม้แดง ที่มีค่าเป็น 0.76±0.06, 0.79±0.06 และ 1.05±0.02 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ตามลำดับ ค่าโมดูลัสของการแตกหักของไม้สน ไม้ยางพารา ไม้สัก และไม้แดง มีค่าเป็น 64.4±5.6, 104.7±11.5, 73.1±8.8 และ 127.2±8.8 เมกกะพาสคาล ตามลำดับ ในส่วนของค่าความแข็งของไม้สน ไม้ยางพารา ไม้สัก และไม้แดง มีค่าเป็น 45±3.4, 58±3.9, 51±3.6 และ 68±4.4 ชอร์ดี ตามลำดับ
คำสำคัญ
ความหนาแน่นของไม้, ไม้แดง, ไม้ยางพารา, ไม้สน, ไม้สัก, สมบัติเชิงกล