ผงฝุ่นวาวแสงจากแกลบสำหรับเพิ่มความคมชัดของรอยลายนิ้วมือแฝง

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งKirada Khanbo;Kittidhaj Dhanasiwawong;Kittidhaj Dhanasiwawong;Kheamrutai Thamaphat;Kheamrutai Thamaphat;Siriprapa Rattanyu;Surin Chomsaohus;Patchara Sinloyma;Pichet Limsuwan;

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2021

วารสารวารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (1905-4963)

Volume number16

Issue number2

หน้าแรก67

หน้าสุดท้าย80

จำนวนหน้า14

นอก1905-4963

URLhttps://li01.tci-thaijo.org/index.php/PRRJ_Scitech/article/view/250778


บทคัดย่อ

ในงานวิจัยนี้ได้ทำการสังเคราะห์ผงฝุ่นวาวแสงด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับเพิ่มความคมชัดของรอยลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิวของวัตถุพยาน โดยนำแกลบซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาสังเคราะห์อนุภาคนาโนซิลิกา (SiNPs) ที่มีความบริสุทธิ์สูงถึง 99.90 % หลังจากนั้นจึงนำสีย้อมเรืองแสงโรดามีน 6 จี มาเคลือบบนพื้นผิวของอนุภาค SiNPs จะได้อนุภาคนาโนซิลิกาวาวแสง (SiNPs-R6G) ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 25 ± 1 nm มีลักษณะเป็นผงสีส้ม เมื่อนำ SiNPs-R6G นี้ไปตรวจหารอยลายนิ้วมือแฝงโดยอาศัยวิธีการกดทับซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ทำลายลายเส้นแทนการปัดผงฝุ่น พบว่า SiNPs-R6G สามารถเพิ่มความคมชัดของรอยลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิวของวัตถุชนิดต่างๆ ทั้งพื้นผิวมีรูพรุน กึ่งรูพรุน และไม่มีรูพรุน ทั้งพื้นผิวเรียบและพื้นผิวขรุขระได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเมื่อถ่ายภาพรอยลายนิ้วมือที่ปรากฏด้วยกล้องถ่ายภาพดิจิทัลผ่านฟิลเตอร์สีส้ม ภายใต้แสงจากเครื่องโพลีไลท์ที่มีความยาวคลื่น 505 nm ภาพที่ได้ปรากฏรายละเอียดของลายเส้นลายนิ้วมือที่มีสีเหลือง (570 nm) ตัดกับพื้นผิวของวัตถุได้อย่างคมชัด แสดงให้เห็นว่าผงฝุ่นวาวแสงและวิธีการหารอยลายนิ้วมือแฝงที่นำเสนอในงานวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้ในงานตรวจพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ได้


คำสำคัญ

ผงฝุ่นวาวแสงรอยลายนิ้วมือแฝงโรดามีน 6 จีอนุภาคนาโนซิลิกา


อัพเดทล่าสุด 2023-31-08 ถึง 23:05