การประเมินค่าสติฟเนสของหินคลุกด้วยวิธีการปล่อยน้ำหนักตกกระทบ
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: ธนรัฐ ขวัญเจริญทรัพย์ และวรัช ก้องกิจกุล
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
หน้าแรก: GTE39-1
หน้าสุดท้าย: GTE39-10
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
ค่าโมดูลัสคืนตัว (Resilient modulus, Mr) เป็นพารามิเตอร์สำคัญค่าหนึ่งที่นำมาใช้ในการออกแบบและวิเคราะห์ความแข็งแรงของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างชั้นทาง โดยทั่วไปการหาค่า Mr ของวัสดุนิยมใช้การทดสอบแรงอัดสามแกนแบบให้แรงกระทำแบบวัฏจักร (Repeat load triaxial test, RLT) ซึ่งเป็นวิธีที่มีความซับซ้อนและใช้เวลานาน เพื่อ
แก้ปัญหาดังกล่าว การศึกษาในปัจจุบันจึงได้มีการศึกษาวิธีการอื่นเพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ค่า Mr ในงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาประยุกต์ใช้วิธีการปล่อยน้ำหนักตกกระทบเพื่อประเมินค่าสติฟเนสของวัสดุเม็ดหยาบ โดยการใช้เครื่องปล่อยน้ำหนักตกกระแทก (Dynamic hammer, DH) มาใช้ทดสอบกับหินคลุกบดอัดในโมลซีบีอาร์ แล้วทำการวิเคราะห์
หาค่าสติฟเนสของดิน (k) และศึกษาวิธีการวิเคราะห์เพื่อหาค่าโมดูลัสจำกัด ( MDH) ที่ขึ้นกับระดับความเค้นเทียบกับค่าโมดูลัสจำกัดของวัสดุที่ได้จากการทดสอบการอัดตัวหนึ่งมิติ (M1D) ที่ขึ้นกับระดับความเค้น วัสดุที่ใช้ในการศึกษานี้คือ หินคลุก (Crushed rock) ที่มีการคละขนาดอนุภาคกันดี ผลการศึกษาพบว่า 1. ค่า k จากการทดสอบ DH จะเพิ่ม
ขึ้นกับจำนวนครั้งจนมีค่าคงที่เมื่อจำนวนครั้งในการปล่อยตกมีค่าเพิ่มขึ้นเข้าสู่อินฟินิตี้ (n = oo) ซึ่งค่า kn=oo สามารถวิเคราะห์ได้โดยใช้วิธีไฮเพอร์โบลิก (Hyperbolic method) 2. ค่าโมดูลัสจำกัดจากการทดสอบ DH ( MDH) สามารถหาได้จากค่า k ที่แท้จริงที่หาค่าได้สำหรับระดับความเค้น (T) ที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับระยะตกกระแทกที่ใช้ในการทดสอบ DH และ 3. ความสัมพันธ์ MDH-T มีความสอดคล้องกับความสัมพันธ์ M1D-T แต่จะมีการกระจายตัวที่มากกว่า
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง