การวิเคราะห์เปรียบเทียบการออกแบบกำแพงกันดินคอนกรีตคานยื่นและกำแพงกันดินเสริมแรงเพื่อรับแรงแผ่นดินไหว
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: วุฒิชัย ชาติพัฒนานันท์, ชัยณรงค์ อธิสกุล, สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
หน้าแรก: STR14-1
หน้าสุดท้าย: STR14-8
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
บทความนี้แสดงการคำนวณออกแบบกำแพงกันดินคอนกรีตคานยื่น และกำแพงกันดินเสริมแรงในส่วนของเสถียรภาพภายนอกเพื่อรับแรง แผ่นดินไหว ที่จำเป็นต้องพิจารณาในการออกแบบโดยเฉพาะในเขตพื้นที่ ภาคเหนือและภาคตะวันตะวันตกในประเทศไทย โดยที่ตัวอย่างการ ออกแบบดังกล่าวยังไม่ปรากฎแพร่หลายนัก โดยแสดงตัวอย่างการ ออกแบบกำแพงกันดินคอนกรีตคานยื่นและกำแพงกันดินเสริมแรงทั้งกรณี ที่มีแรงแผ่นดินไหวโดยการใช้สมการ M-O ในการประมาณแรงดันดิน ด้านข้างพลศาสตร์ แล้วทำการเปรียบเทียบการออกแบบกำแพงกันดินใน กรณีที่ไม่มีแรงแผ่นดินไหวโดยใช้แรงดันดินด้านข้างสถิตย์ศาสตร์ โดยใช้ ตัวอย่างกำแพงกันดินที่ความสูง 2.5 เมตร โดยออกแบบตามรูปแบบของ การวิบัติ จากค่าความเร่งสูงสุดที่ 0.4g และค่าความเร่งผิวดินแนวราบที่ 0.12g โดยกำแพงกันดินคอนกรีตคานยื่นใช้ดินถมน้อยกว่า เนื่องจาก CCRW ใช้น้ำหนักของคอนกรีตช่วยในการรับแรง ขณะที่ MSEW ใช้น้ำหนัก ดินเพียงอย่างเดียวในการรับแรง นอกจากนี้ กำแพงกันดินคอนกรีตคานยื่น และกำแพงกันดินเสริมแรงที่มีรูปทรงมวลดินเสริมแรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า คล้ายกัน มีความสามารถในการรับแรง โมเมนต์ และอัตราส่วนความ ปลอดภัยที่ต่างกันหากพิจารณาถึงผลของรูปทรง แรงเฉื่อยและมุมเสียด ทานกำแพงที่ต่างกัน
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง