ผลกระทบด้านการจราจรของยานยนต์ไร้คนขับบนถนนในเมืองโดยใช้การจำลอง

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งกีรติ์นุช กีรติศิวกุล, วศิน เกียรติโกมล

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

หน้าแรกTRL15-1

หน้าสุดท้ายTRL15-10

URLhttps://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1478/


บทคัดย่อ

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติหรือยานยนต์ไร้คนขับ (Autonomous Vehicle) ซึ่งเป็นรูปแบบยานพาหนะประเภทที่มีการใช้ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ โดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์ในการควบคุม งานวิจัยนี้เล็งเห็นถึงความสําคัญของผลกระทบด้านการจราจรบนถนนในเขตเมืองกรณีที่มีการใช้งานยานยนต์ไร้คนขับร่วมกับยานยนต์ประเภทอื่นๆโดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ที่มีใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยศึกษาช่วงถนนประชาอุทิศ บริเวณทางเชื่อมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และซอยประชาอุทิศ45 ซึ่งอยู่เยื้องกันทั้ง 2 ฝั่งของถนน ซึ่งช่วงถนนดังกล่าวมีการจราจรหนาแน่น ไม่มีการควบคุมด้วยสัญญาณไฟจราจรบริเวณทางเชื่อมทั้ง 2 ฝั่งที่อยู่ใกล้กัน การศึกษานี้ใช้แบบจําลองจราจรระดับจุลภาค PTV VISSIM ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพด้านการจราจรเพื่อเปรียบเทียบระหว่างสถานการณ์พื้นฐานโดยไม่มียานยนต์ไร้คนขับในกระแสจราจร และสถานการณ์ที่มียานยนต์ไร้คนขับแทนที่ยานยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งผลการศึกษาพบว่าเมื่อมียานยนต์ไร้คนขับบนโครงข่ายถนนที่ศึกษาแทนยานยนต์ปกติ จะส่งผลกระทบต่อความเร็วเฉลี่ยรถ ความยาวเฉลี่ยของแถวคอย และความล่าช้าในการเดินทางจากยานพาหนะบริเวณแยกพื้นที่ศึกษาเพิ่มขึ้น 21% และลดลง 90% และลดลง 75% ตามลำดับ


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-03-01 ถึง 23:05