การศึกษาพฤติกรรมและความรู้ด้านความปลอดภัยในการเดินทางของนักเรียน

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งพนิดา ฟักโต, วศิน เกียรติโกมล

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

หน้าแรกTRL19-1

หน้าสุดท้ายTRL19-5

URLhttps://conference.thaince.org/index.php/ncce27/article/view/1481


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษารูปแบบการเดินทางไปโรงเรียนและประเมินความรู้ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยในการเดินทางของนักเรียน  โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี การศึกษานี้เก็บข้อมูลด้วยใช้แบบสอบถามออนไลน์ โดยข้อมูลที่สนใจครอบคลุมถึงลักษณะการเดินทางและการรับรู้เกี่ยวกับกฎการใช้รถใช้ถนนในด้านต่างๆ มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาทั้งสิ้น 423 คน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการเดินทางที่นักเรียนที่ใช้เดินทางไปโรงเรียนมากที่สุดมีสองรูปแบบ คือ ผู้ปกครองรับ-ส่ง และใช้รถรับ-ส่งนักเรียน เป็นสัดส่วนร้อยละ 38.5 ทั้งสองรูปแบบ โดยมีนักเรียนใช้จักรยานยนต์เดินทางมาโรงเรียนเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.4 ซึ่งพบว่านักเรียนในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 56.5 จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบการเดินทาง ได้แก่ ระยะทาง ระดับชั้น เพศ อายุ ความสามารถในการขับขี่รถจักรยานยนต์ และการมีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ จากการสอบถามถึงพฤติกรรมการเดินทางไป-กลับโรงเรียนของนักเรียน พบว่านักเรียนส่วนมากมีพฤติกรรมในการเดินทางเป็นไปอย่างถูกต้อง และจากการวิเคราะห์ผลจากแบบทดสอบประเมินความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินทางพบว่า เด็กนักเรียนมีความรู้เรื่องป้ายสัญลักษณ์เป็นสัดส่วนมากที่สุด แต่มีความรู้เรื่องการเดินเท้าและการข้ามถนนเป็นสัดส่วนน้อยที่สุด


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-10-08 ถึง 23:05