ค่าแฟกเตอร์ประสิทธิผลของเถ้าปาล์มน้ำมันในคอนกรีต

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งWachilakorn Sanawang, Yochai Chinnabut, Sattawat Haruehansapong, Weerachart Tangchirapat and Chai Jaturapitakku

ผู้เผยแพร่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนุบรี

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

Volume number45

Issue number3

หน้าแรก393

หน้าสุดท้าย410

จำนวนหน้า18

นอก0125-278X

URLhttps://digital.lib.kmutt.ac.th/journal/loadfile.php?A_ID=1034


บทคัดย่อ

บทความนี้รายงานผลการศึกษาหาค่าแฟกเตอร์ประสิทธิผล (k) ของเถ้าปาล์มน�้ำมัน เพื่อใช้ในการออกแบบส่วนผสมคอนกรีตที่ผสมเถ้าปาล์มน�้ำมัน โดยประยุกต์จาก มาตรฐานอังกฤษที่แนะน�ำให้ใช้ค่าแฟกเตอร์ประสิทธิผล หรือค่าเทียบเท่าปริมาณ ซีเมนต์ k (k-value) ในส่วนผสมคอนกรีต ซึ่งมีประสิทธิผลเทียบเท่ากับปูนซีเมนต์ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้เถ้าปาล์มน�้ำมันในส่วนผสมของคอนกรีตให้เหมาะสม งานวิจัยนี้หาค่าแฟกเตอร์ประสิทธิผลของเถ้าปาล์มน�้ำมัน โดยรวบรวมส่วนผสม จากงานวิจัยอื่น พิจารณาถึงค่าความละเอียดของเถ้าปาล์มน�้ำมัน อัตราส่วนการ แทนที่เถ้าปาล์มน�้ำมันในปูนซีเมนต์ และอายุการบ่มของคอนกรีต โดยดัดแปลงมา จากสมการของ Abrams และ Bolomey จากนั้น วิเคราะห์สมการเชิงเส้นแบบ ถดถอยหลายตัวแปร โดยแบ่งอายุของคอนกรีตที่ศึกษาออกเป็น 7, 28 และ 90 วัน ส�ำหรับใช้ในการออกแบบส่วนผสมคอนกรีต จากการศึกษา พบว่า ค่าแฟกเตอร์ ประสิทธิผล (kd) ของเถ้าปาล์มน�้ำมันที่อายุ 7 วัน มีค่า k7 เท่ากับ 0.75 โดยค่า R2 เท่ากับ 0.99 เมื่ออายุเพิ่มขึ้นเป็น 28 วัน มีค่า k28 เท่ากับ 0.73 ค่า R2 เท่ากับ 0.96 และค่า k ที่อายุ 90 วัน มีค่า k90 เท่ากับ 0.81 โดยค่า R2 เท่ากับ 0.95 นอกจากนี้ ยังได้แนะน�ำการใช้สมการในการออกแบบส่วนผสมของคอนกรีต รวม ถึงเปรียบเทียบผลของค่าก�ำลังอัดที่ค�ำนวณได้จากสมการกับผลการทดสอบค่า ก�ำลังอัดจากงานวิจัย ซึ่งพบว่า ผลการค�ำนวณค่า k28 ที่อายุ 28 วัน มีค่าความ คลาดเคลื่อน 7.5%


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-06-01 ถึง 23:05