ศักยภาพของการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์ (MICP) ต่อฐานรากอิฐก่อโบราณ
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: ชิษณุพงศ์ ทองหนู พรเกษม จงประดิษฐ์ ชนา พุทธนานนท์ ดนัย เผ่าหฤหรรษ์ และ ปิยะฉัตร ฉัตรตันใจ
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
หน้าแรก: GTE31-1
หน้าสุดท้าย: GTE31-7
บทคัดย่อ
โบราณสถานกลางแจ้งเผชิญกับการเสื่อมสภาพตามกาลเวลาเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การเสื่อมสภาพนี้ส่งผลให้เกิดการลดทอนคุณสมบัติของวัสดุ และเสถียรภาพของโครงสร้างโบราณสถาน ซึ่งอาจนำไปสู่การพังทลายของโครงสร้างได้ในที่สุด งา นวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์ในฐานราก
โบราณสถานที่ประกอบด้วยอิฐและมอร์ตาร์โดยการใช้จุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการผลิตแคลเซียมคาร์บอเนตจากการย่อยสลายยูเรีย ทำให้เกิดการเชื่อมประสานในรอยแตกหรือเติมเต็มช่องว่างที่ผิววัสดุ โดยวิธีการปรับปรุงคุณภาพฐานรากด้วยวิธีนี้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกรมศิลปากรที่ไม่อนุญาติให้มีแรงสั่นสะเทือนในบริเวณโดยรอบพื้นที่ของโบราณสถานงานวิจัยนี้ใช้ตัวอย่างทดสอบวัสดุอิฐทดแทนจากโรงงานผลิตในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ผ่านการรับรองจากกรมศิลปากร และมอร์ตาร์ทดแทนที่ผลิตขึ้นตามคำแนะนำของกรมศิลปากร โดยศึกษาศักยภาพการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์ Lysinibacillus sphaericus LMG22257 ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการผลิตแคลเซียมคาร์บอเนตจากการย่อยสลายยูเรีย ซึ่งจะดำเนินการทดสอบการตกตะกอนในห้องปฎิบัติการเป็นเวลา 18 วัน จากการวิเคราะห์การพัฒนาโครงสร้างจุลภาคที่ผิวของวัสดุด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน การวิเคราะห์ปริมาณแร่ธาตุที่เกิดขึ้นด้วยสเปกโทรเมตรีรังสีเอกซ์แบบกระจายพลังงานที่ใช้ ร่วมกับกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด และการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของผิววัสดุด้วยเครื่องมือสแกนพื้นผิวสามมติ พบว่ามีการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตจนส่งผลให้รอยแตกและรูพรุนที่ผิววัสดุลดลง โดยเหตุนี้จึงสามารถสรุปได้ว่าการประยุกต์ใช้กระบวนการการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์สามารถปรับปรุงคุณภาพของฐานรากโบราณสถานได้
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง