ดัชนีความเสียหายสำหรับจุดต่อชั้นวางสินค้าเหล็กภายใต้แรงสลับทิศ
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: คณิต อกนิษฐ์, เอกชัย อยู่ประเสริฐชัย, วงศา วรารักษ์สัจจะ, สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน และ ชัยณรงค์ อธิสกุล
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
หน้าแรก: STR43-1
หน้าสุดท้าย: STR43-8
บทคัดย่อ
ปัจจุบันมีการใช้งานชั้นวางสินค้าที่มีความสูงเป็นพิเศษเพิ่มมากขึ้น เพื่อ รองรับระบบจัดเก็บสินค้าแบบอัตโนมัติ (Automatic Storage and Retrieval System, ASRS) การวิเคราะห์และประเมินกำลังชั้นวางสินค้าที่ มีความสูงเป็นพิเศษเหล่านี้ จึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นโดยเฉพาะ การใช้ งานในบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว บทความนี้นำเสนอการ คำนวณหาดัชนีความเสียหาย (Damage Index) บริเวณจุดต่อคานเสา โครงสร้างชั้นวางสินค้าเหล็ก เพื่อการประเมินความเสี่ยงภัยและระดับความ เสียหายจากแรงแผ่นดินไหวหรือแรงกระทำด้านข้าง และเพื่อเป็นแนว ทางการประเมินความสามารถในการใช้งานได้ของโครงสร้าง ในการศึกษาจะรวบรวมผลการทดสอบจุดต่อภายใต้แรงดัด ทั้งแบบ แรงกระทำแบบทิศทางเดียว (Monotonic Loading) และแบบแรงสลับทิศ (Cyclic Loading) จากงานวิจัยในอดีต จำนวนทั้งสิ้น 22 ตัวอย่าง จากนั้น จึงนำผลมาวิเคราะห์การเสียรูปที่จุดต่อ และการสลายพลังงานสะสม และ นำมาคำนวณหาตัวประกอบ เพื่อประเมินความเสียหาย โดยใช้ดัชนีความ เสียหายของPark-Ang จากผลการศึกษาพบว่า ความสามารถในการเสียรูป และการสลายพลังงานบริเวณจุดต่อมีปัจจัยหลักมาจากขนาดความลึกคาน และความหนาเสาเป็นหลัก และค่าคงที่ ที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับ 0.22 จากผลการศึกษาสามารถนำสมการสำหรับหาตัวประกอบเพื่อใช้ประเมิน ความเสียหายจุดต่อชั้นวางเหล็กเนื่องจากแรงแผ่นดินไหวได้
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง