การใช้เทคนิค LOOP-MEDIATED ISOTHERMAL AMPLIFICATION (LAMP) ตรวจหาเชื้อราไฟทอปธอราในทุเรียน
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Dueantem Thongphueak, Jirapat Chanthamalee, Sirirat Wachiralurpan and Suphitcha Augkarawaritsawong
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
Volume number: 7
Issue number: 3
หน้าแรก: 1
หน้าสุดท้าย: 14
จำนวนหน้า: 14
นอก: 2465-5112
eISSN: 2672-9741
URL: https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/249876
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาการเกิดโรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียนจากเชื้อPhytophthora palmivoraโดยเก็บตัวอย่างจากต้นทุเรียนที่แสดงอาการของโรคจากสวนทุเรียนในอําเภอเขาคิชฌกูฏ และอําเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี จํานวน 20 ตัวอย่าง พบเชื้อรา P. palmivora จํานวน 12 ตัวอย่าง และตรวจไม่พบเชื้อ P. palmivora จํานวน 8 ตัวอย่าง จากการคัดแยกเชื้อและศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของ P. palmivora โดยการเลี้ยงเชื้อราบนสไลด์พบว่าเชื้อที่แยกได้มีรูปร่างลักษณะของโคโลนีเป็นแบบ Rosette สปอร์แรงเจียมมีลักษณะเป็นวงรี เป็นแบบ Ovoid ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ การเพาะเลี้ยงบนอาหารวุ้นแครอท พบว่าสามารถเจริญเติบโตได้ดี การตรวจวิเคราะห์เชื้อ P. palmivora โดยการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอด้วยเทคนิคแลมป์ (LAMP) ร่วมกับดีเอ็นเอไบโอเซ็นเซอร์แบบแถบ (Dipstick DNA biosensor) พบว่า สามารถตรวจจับกับยีนเป้าหมายได้ทั้ง 12 ตัวอย่าง การตรวจสอบความไว พบว่าความเข้มข้นต่ําสุดที่สามารถตรวจสอบเชื้อได้คือ 10-5ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร การตรวจสอบความจําเพาะของไพรเมอร์กับเชื้ออื่นพบว่าไม่เกิดปฏิกิริยาการข้ามกับเชื้อราอื่นๆ แสดงว่าวิธีการวิเคราะห์มีความจําเพาะเจาะจงต่อเชื้อ P. palmivora ดังนั้นวิธีตรวจวิเคราะห์เชื้อรา P. palmivora ในทุเรียน ด้วยเทคนิคแลมป์ร่วมกับดีเอ็นเอไบโอเซ็นเซอร์แบบแถบเป็นวิธีการที่ทําได้อย่างรวดเร็ว มีความแม่นยําสูง สามารถทําได้ง่าย โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพง ภายในเวลา 60-90 นาที และใช้ปริมาณดีเอ็นเอเพียงเล็กน้อย การตรวจวิเคราะห์เชื้อได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสามารถใช้เทคนิคนี้เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง