พฤติกรรมการต้านทานแผ่นดินไหวของโครงสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปเสา-คาน ระบบดึงลวดอัดแรงยึดรั้งด้วยคํ้ายันที่ไม่โก่งเดาะ

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งเอกรินทร์ ชัยสนิท, ฤทธิภูมิ นาคะอินทร์, วงศกร สื่อกลาง, พัณณิตา สุระอุดร, ธัญญพร ขำวิจิตร์ , เอกชัย อยู่ประเสริฐชัย
และ สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

หน้าแรก1

หน้าสุดท้าย10

จำนวนหน้า10


บทคัดย่อ

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาพบว่าระบบโครงสร้างชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปเสา-คานภายใต้แรงแผ่นดินไหวส่วนใหญ่มีจุดอ่อนอยู่ที่บริเวณจุดต่อเสา-คาน เนื่องจากรอยต่อชิ้นส่วนสำเร็จรูปมักจะมีกำลัง ความแกร่ง และความเหนียวน้อยกว่าคอนกรีตหล่อในที่ งานวิจัยนี้จึงเป็นการนำเสนอรูปแบบทางเลือกของจุดต่อโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูปเสา-คานโดยใช้ลวดอัดแรงทำงานร่วมกับคํ้ายันที่ไม่โก่งเดาะ โดยในการศึกษานี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมจุดต่อภายนอกของโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูปเสา-คานด้วย วิธีการทดสอบภายใต้แรงวัฏจักรกึ่งสถิตซึ่งเป็นการให้ระยะเคลื่อนตัวสลับทิศแก่ตัวอย่างทดสอบ ในงานวิจัยนี้เปรียบเทียบพฤติกรรมของจุดต่อ 3 ตัวอย่าง ประกอบด้วย 1.) ตัวอย่างจุดต่อเสา-คานแบบหล่อในที่ 2.) ตัวอย่างจุดต่อเสา-คานภายนอกระบบดึงลวดอัดแรงอย่างเดียว และ 3.) ตัวอย่างจุดต่อเสา-คานระบบดึงลวดอัดแรงทำการเสริมกำลังโดยการใช้ค้ำยันยึดรั้งไม่โก่งเดาะเข้าที่บริเวณมุมของจุดต่อเสา-คาน ในการทดสอบได้มีการพิจารณาในด้านรูปแบบความเสียหาย, ความสัมพันธ์ระหว่างแรงและการเคลื่อนที่ทางข้าง, ความแข็งแกร่ง, การสลายพลังงาน ซึ่งผลจากการทดสอบพบว่า การเสริมท่อนค้ำยันยึดรั้งไม่โก่งเดาะจะช่วยทำให้โครงสร้างมีความเหนียว มีกำลังต้านทานทางด้านข้างและการสลายพลังงานที่ใกล้เคียงกับตัวอย่างทดสอบแบบหล่อในที่


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-12-01 ถึง 23:05