การเพิ่มประสิทธิภาพสายการประกอบ PUMP MODULE สําหรับอุตสาหกรรมยานยนต์

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งปาวสิทธิ์ ปุจฉาการ, วิวิธวินท์ เสพสมุทร, ลักษิกา โอนอ่อน และ สุรศักดิ์ สุรนันทชัย

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

หน้าแรก2891

หน้าสุดท้าย2901

จำนวนหน้า11

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

ในปัจจุบันธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าในฝั่ งยุโรปมีการเติบโตที่สูงขึ้น ซึ่ งส่งผลให้มีการย้ายฐานการผลิต รถยนต์ที่ใช้ระบบเครื่องสันดาปภายใน (Internal Combustion Engine) เข้ามาในฝั่ งเอเชียมากขึ้น และทําให้เกิด การแข่งขันด้านต้นทุนของธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใช้สําหรับเครื่ องยนต์สันดาป ในงานวิจัยนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนและเพิ่ มประสิทธิภาพสายการประกอบ Pump module ซึ่งในสายการประกอบมีพนักงาน 9 คน และมี Pump module109 รุ่น ซึ่งศึกษาเฉพาะรุ่นที่มีการผลิตตั้ งแต่80% ขึ้นไป และกาหนดเวลาในการเปลี่ยน ํ รุ่น 63 วินาทีต่อครั้ง จากการจับเวลาที่สายการผลิตพบวาจากรุ่น 2HX-GASไป 2HU ใช้เวลาในการเปลี่ยนรุ่นเกินจาก เวลาที่กาหนด นั่นคือ ่ 140 วินาทีต่อครั้ง จึงทําการวิเคราะห์หาสาเหตุโดยใช้แผนผังกางปลา และโปรแกรม ้ ORiN พบว่าต้นทุนในการผลิตส่วนมากเกิดขึ้นจากการใช้กําลังคน การเปลี่ยนรุ่นของชิ้ นส่วน รวมไปถึงขั้นตอน กระบวนการในการผลิตมีกิจกรรมที่ทําให้เกิดความสูญเปล่า (Muda) ผู้จัดทําจึงได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นหลักการปรับปรุงขั้นพื้นฐาน ECRS ได้แก่ การจัดสมดุลการผลิตด้วยหลักการเปลี่ยนขั้นตอนการปฏิบัติงานและการปรับปรุงกระบวนการผลิต (Kaizen) เนื่องจากหลังจากที่มีการสลับการปฏิบัติงานของพนักงานแล้วใน กระบวนการผลิตยังเกิดเวลาการสูญเปล่า (Muda) เช่น การเดินของพนักงาน และนําหลักการกาจัดงานที่ไม่จําเป็น (Eliminate All Unnecessary Work) มาใช้ โดยเสนอให้มีการทําที่เก็บอุปกรณ์กาหนดตําแหน่งของชิ้นงาน (Jig) ใต้เครื่องจักรของพนักงาน เพื่อลดเวลาในการเดินไปหยิบ jig ในที่ที่จัดเก็บไว้


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-02-02 ถึง 23:05