การลดของเสียภายในสายการประกอบ Front Bumper
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Apichaya Akkarapatumwong, Apisit Kettum, Komkrich Thongdee and Surasak Suranuntchai
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
หน้าแรก: 740
หน้าสุดท้าย: 749
จำนวนหน้า: 10
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
โครงงานวิศวกรรมนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดปริมาณของเสีย (Defects) และลดปริมาณต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าภายในสายการประกอบ Front Bumper โดยปริมาณของต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าก่อนปรับปรุง 9,244.8 บาท จากการศึกษากระบวนการเพื่อบ่งชี้สภาพปัญหาโดยใช้หลักการแผนภาพพาเรโต (Pareto Diagram) รวมทั้งวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎี 5Whys และแผนภาพแสดงเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) เพื่อมาประยุกต์ใช้ในการหาสาเหตุรากเหง้า (Root Causes) สำหรับหาแนวทางในการปรับปรุง จากการศึกษากระบวนการประกอบสามารถระบุปัญหาได้ 3 ประเภท ได้แก่ ปัญหาชิ้นงานเสียรูป 15 ชิ้น ปัญหาชิ้นงานประกอบไม่ครบหรือเกิน 5 ชิ้น และปัญหาชิ้นงานน็อตไม่ครบ 4 ชิ้น โดยหลังจากการปรับปรุงสามารถลดปริมาณของเสียปัญหาชิ้นงานเสียรูปจาก 15 ชิ้น เหลือ 0 ชิ้น และปัญหาชิ้นงานประกอบไม่ครบหรือเกิน 5 ชิ้น เหลือ 0 ชิ้น จึงส่งผลให้ปริมาณของต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าหลังปรับปรุงเหลือเพียง 1,926 บาท คิดเป็นปริมาณต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าลดลง 79%
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง