การหาค่าความตึงผิวโดยวิธีหยดของเหลว : ผลของเส้นผ่านศูนย์กลางของเข็มหยด
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Sumitra Imraksa and Chittra Kedkaew
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
Volume number: 27
Issue number: 3
หน้าแรก: 1950
หน้าสุดท้าย: 1962
จำนวนหน้า: 13
นอก: 2351-0781
URL: https://science.buu.ac.th/ojs246/index.php/sci/article/view/4278
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบชุดการทดลองหาค่าความตึงผิวของของเหลวโดยวิธีหยดน้ำเพื่อนำไปใช้ในการ
จัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือระดับอุดมศึกษา โดยอาศัยภาพถ่ายของหยดน้ำและหลักการผลต่างของความดันในของเหลวจากสมการยัง-ลาปลาซในการคำนวณ ชุดการทดลองประกอบด้วยเข็มฉีดยาที่ตัดปลายตรง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.60, 0.80 และ 1.2 mm หลอดไฟ และโทรศัพท์มือถือ ในการทดลองจะหยดน้ำกลั่นจากเข็มฉีดยาขนาดต่างกัน ถ่ายภาพหยดน้ำและนำภาพที่ได้มาวัดระยะ DE และ DS ด้วยโปรแกรมอิมเมจเจ ซึ่งระยะ DE
แทน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางส่วนที่กว้างที่สุดของหยดน้ำ และ DS แทน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ณ ตำแหน่งที่วัดจากจุดต่ำสุดของหยดน้ำที่อยู่ห่างเป็นระยะ DE พอดี จากผลการวัดและค านวณพบว่า เส้นผ่านศูนย์กลางของหัวหยดที่ใช้หยดของเหลวไม่มีผลต่อค่าความตึงผิวของของเหลว แต่รูปทรงของหยดน ้าจะมีผลต่อค่าความตึงผิว โดยผลต่างของ DE
กับ DS จากภาพถ่ายหยดน้ำที่หยดจากหัวหยดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.60, 0.80 และ 1.2 mm มีค่าอยู่ในช่วง 0.080– 0.10 mm นอกจากนี้ภาพหยดน้ำที่ให้ค่าความตึงผิวใกล้เคียงกับค่าอ้างอิงมากที่สุด ควรเป็นภาพถ่ายหยดน้ำขณะที่หยดน้ำกำลังจะหลุดออกจากปลายหัวหยด ซึ่งเป็นจุดที่เกิดความสมดุลระหว่างแรงตึงผิวและแรงโน้มถ่วงที่กระทำกับตัวหยดน้ำ โดยที่ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของ เข็มฉีดยา และปริมาณของน ้าที่ใช้ ไม่ส่งผลต่อค่าความตึงผิวที่คำนวณได้จากวิธีนี้
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง