อิทธิพลของการสั่นสะเทือนทางแม่เหล็กไฟฟ้าต่อโครงสร้างจุลภาคและสมบัติทางกล เหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 316 ที่เชื่อมด้วยกระบวนการเชื่อมอาร์กทังสเตนแก๊สคลุม
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Thanakron Kaennakhum, Santirat Nansaarng and Supreeya Siripattanakunkajorn
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
ชื่อชุด: Conference Proceedings The 13th Rajamangala Surin National Conference
หน้าแรก: B423
หน้าสุดท้าย: B434
URL: https://rd.surin.rmuti.ac.th/rsnc2022/
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการสั่นสะเทือนทางแม่เหล็กไฟฟ้าต่อโครงสร้างจุลภาคและสมบัติทางกล
ของกระบวนการเชื่อมอาร์กทังสเตนแก๊สคลุม เหล็กกล้าไร้สนิม 316 โดยศึกษาและออกแบบการทดลองจาก 3 ปัจจัย
ประกอบด้วยการสั่นสะเทือนทางแม่เหล็กไฟฟ้า กระแสไฟเชื่อมและความเร็วในการเชื่อม หลังจากทดลองได้วิเคราะห์
โครงสร้างจุลภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบออปติคอลและวัดค่าความแข็งบริเวณเขตอิทธิพลความร้อน (Heat-Affected
Zone; HAZ) ผลการวิจัยพบว่าอิทธิพลของการสั่นสะเทือนทางแม่เหล็กไฟฟ้ามีผลต่อโครงสร้างจุลภาค(Microstructure) โครงสร้างออสเทนไนต์และเดลต้าเฟอร์ไลท์ และอิทธิพลค่าความแข็งสูงที่สุดเมื่อการสั่นสะเทือนทางแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ระดับ 40 เฮิรตซ์ กระแสไฟเชื่อม 105 แอมแปร์ ความเร็วในการเชื่อม 200 มิลลิเมตรต่อนาที วัดค่าระดับความแข็งได้ 269.34 HV และค่าความแข็งต่ำที่สุดเมื่อการสั่นสะเทือนทางแม่เหล็กไฟฟ้าที่ระดับ 0 เฮิรตซ์ กระแสไฟเชื่อม 95 แอมแปร์ ความเร็วในการเชื่อม 100 มิลลิเมตรต่อนาที วัดค่าความแข็งได้ 215.18 HV และผลค่าความแข็งตามแผนการทดลองวิเคราะห์ ทางสถิติการแจกแจงข้อมูลโดยกำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 พบว่าค่าความแข็งมีการแจกแจงของข้อมูลแบบปกติ
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง