อิทธิพลของการสั่นสะเทือนทางแม่เหล็กไฟฟ้าต่อโครงสร้างจุลภาคและสมบัติทางกลของเหล็กกล้าคาร์บอนเกรด AISI 1045 ที่ผ่านกระบวนการเชื่อมอาร์กทังสเตนแก๊สคลุม

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งMan Prasert, Santirat Nansaarng and Supreeya Siripattanakunkajorn

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

ชื่อชุดConference Proceedings The 13th Rajamangala Surin National Conference

หน้าแรกB435

หน้าสุดท้ายB443

URLhttps://rd.surin.rmuti.ac.th/rsnc2022/

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการสั่นสะเทือนทางแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างการเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน
เกรด AISI 1045 ด้วยกระบวนการเชื่อมอาร์กทังสเตนแก๊สคลุมที่ส่งผลต่อโครงสร้างจุลภาคและสมบัติทางกล โดยศึกษาการ
สั่นสะเทือนทางแม่เหล็กไฟฟ้าขณะเชื่อมที่ระดับ 0, 20, 40 เฮิตรซ์ กระแสไฟเชื่อม ความเร็วในการเชื่อม ผลการวิจัยพบว่า
ปัจจัยหลักทั้งสามคือการสั่นสะเทือนกระแสไฟเชื่อมและความเร็วในการเชื่อมมีผลกระทบต่อค่าความต้านทานแรงดึงสูงสุด
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รอยเชื่อมมีโครงสร้างเฟอร์ไรต์และเพิร์ลไลท์ ค่าความต้านทานแรงดึงสูงสุดที่เมื่อ
กำหนดการสั่นสะเทือนทางแม่เหล็กไฟฟ้าที่ระดับ 40 เฮิตรซ์ กระแสไฟเชื่อม 120 แอมแปร์ ความเร็วในการเชื่อม 100
มิลลิเมตรต่อนาที มีค่าความต้านทานแรงดึงเท่ากับ 782.58 N/mm2 และค่าความต้านทานแรงดึงต่ำสุดเมื่อกำหนดการ
สั่นสะเทือนทางแม่เหล็กไฟฟ้าที่ระดับ 0 เฮิตรซ์ กระแสไฟเชื่อม 140 แอมแปร์ ความเร็วในการเชื่อม 200 มิลลิเมตรต่อนาที
วัดค่าความต้านทานแรงดึงเท่ากับ 389.73 N/mm2


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-20-02 ถึง 23:06