การเปรียบเทียบคุณภาพงานพิมพ์ EPM และรูปแบบการพิมพ์ CMYK ของระบบการพิมพ์ดิจิทัลออฟเซต LEP
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Phongyut Junthong, Kanthida Jadkrathok and Chantisa Boonyarit
ผู้เผยแพร่: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
ชื่อย่อของวารสาร: JLIT
Volume number: 2
Issue number: 1
หน้าแรก: 51
หน้าสุดท้าย: 60
จำนวนหน้า: 10
นอก: 2773-9740
eISSN: 2773-9759
URL: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/254738
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพรูปแบบการพิมพ์ EPM และรูปแบบการพิมพ์ CMYK ของระบบดิจิทัลออฟเซต Liquid Electrophotography (LEP) โดยทำการพิมพ์แผ่นสี TC 3.5 CMYK และแบบทดสอบ Altona Test Suite เวอร์ชั่น 1.2 ด้วยเครื่องพิมพ์ HP Indigo 12000 ในรูปแบบการพิมพ์ EPM และรูปแบบการพิมพ์ CMYK นำแบบทดสอบมาทำการวัดเพื่อหาคุณภาพงานพิมพ์ และให้ผู้เชี่ยวชาญทำการเลือกงานพิมพ์ที่มีคุณภาพมากที่สุด ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพงานพิมพ์ รูปแบบการพิมพ์ EPM จะมีค่าสีซีแล็ป (CIELAB) ใกล้เคียงกับรูปแบบการพิมพ์ CMYK ในช่วงสว่าง Highlight โดยรูปแบบการพิมพ์ CMYK จะให้ขอบเขตสีที่กว้างกว่า รูปแบบการพิมพ์ EPM การเลือกงานพิมพ์ที่มีคุณภาพมากที่สุดจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญทำการเลือกภาพจากรูปแบบการพิมพ์ CMYK มากกว่า ภาพสีผิว ภาพขาวดำ ภาพสองสี ภาพโทนมืด ภาพสัตว์ ภาพโลหะ ภาพผลไม้ และภาพการ์ตูน เพราะภาพที่ได้มีความเข้ม คมชัด และเหมือนธรรมชาติ ส่วนภาพจากรูปแบบการพิมพ์ EPM ผู้เชี่ยวชาญเลือกภาพโทนสว่าง ภาพแต่งงาน ภาพลายเสื้อผ้า และภาพอาหาร ดังนั้นรูปแบบการพิมพ์ EPM จึงเหมาะกับการพิมพ์ภาพที่มีปัญหาภาพลายเสื้อผ้า และภาพที่มีโทนสว่าง
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง