การพัฒนาหมึกพิมพ์กราเวียร์ปลอดสารโทลูอีนสำหรับการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนนิ่ม

Poster


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งพิชิต ขจรเดชะ

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

หน้าแรก6

URLhttps://conference.nu.ac.th/nrc18/pdf/nrc18.pdf

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการพัฒนาหมึกพิมพ์กราเวียร์ปลอดสารโทลูอีนสาหรับการพิมพ์บรรจุภัณฑ์อ่อนนิ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา
หมึกพิมพ์กราเวียร์ที่มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและปลอดสารโทลูอีน เนื่องจากโทลูอีนนิยมใช้เป็นตัวทาละลายในหมึกพิมพ์กราเวียร์ แต่เป็นสารอันตราย เป็นสารก่อมะเร็งและเป็นสารอันตรายชนิดที่ 3 ตามพ.ร.บ.วัตถุอันตราย 2535 โดยได้ทำการพัฒนาหมึกกราเวียร์ปลอดสารโทลูอีนจานวน 3 สูตร และนาหมึกที่ได้ไปทาการทดสอบ 1) คุณสมบัติของหมึกพิมพ์ ภายใต้หลักเกณฑ์ได้แก่ อัตราการระเหยของตัวทำละลาย การเกิดฝ้าในงานพิมพ์ (Fogging) การอุดตันบ่อสกรีนของแม่พิมพ์ ค่าความหนืด (ASTM D4212) ทดสอบ 2)
คุณภาพงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์จากหมึกพิมพ์ที่พัฒนาขึ้นด้วยเครื่องพิมพ์กราเวียร์ ทาการวิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์ด้วยหลักเกณฑ์ การวัดค่าความดำ (ISO 13655) ค่าความเปรียบต่างงานพิมพ์ คุณภาพของตัวอักษร ค่าพื้นที่เม็ดสกรีน ค่าความแตกต่างสี ขอบเขตสี (ISO12647-1:2013) และ 3) ทดสอบค่าตัวทาละลายตกค้าง โดยทาการเปรียบเทียบผลที่ได้กับค่ามาตรฐานภายในโรงงาน (In-house Standard) ผลที่ได้พบว่าสูตรตัวทาลาย Isopropyl alcohol ผสม Ethyl Acetate (อัตราส่วน 2.5:2) คุณสมบัติของหมึกพิมพ์ คุณภาพงานพิมพ์ และค่าตัวทำละลายตกค้างในทุกหลักเกณฑ์ผ่านค่ามาตรฐานภายในโรงงาน และพบว่าต้นทุนของหมึกพิมพ์จากสูตรที่ได้ลดลดจากเดิม 4.2% สามารถนำหมึกพิมพ์กราเวียร์ปลอดสารโทลูอีนที่ได้ผลิตขึ้น ไปใช้ในการพิมพ์บรรจุภัณฑ์อ่อนนิ่มได้จริง หมึกที่ผลิตมีมาตรฐานและลดต้นทุนการผลิตลงได้


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-24-02 ถึง 23:05