อิทธิพลของกรรมวิธีทางความร้อนหลังการเชื่อมเหล็กกล้าทนแรงดันสูง ASTM A285 เกรด C ด้วยกระบวนการเชื่อมอาร์กโลหะแก๊สปกคลุม
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Busaya Sonjaiyout, Kwanchai Kamsri, Chompoonooth Khiewmuang and Prachya Peasura
ผู้เผยแพร่: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
Volume number: 2
Issue number: 2
หน้าแรก: 63
หน้าสุดท้าย: 76
จำนวนหน้า: 14
นอก: 2773-9856
URL: https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSET/issue/view/16937
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของกรรมวิธีทางความร้อนหลังการเชื่อมเหล็กกล้าทนแรงดันสูง ASTM A285 เกรด C ด้วยกระบวนการเชื่อมอาร์กโลหะแก๊สปกคลุมที่ส่งผลกระทบต่อค่าความแข็งและโครงสร้างจุลภาคของโครงสร้างในบริเวณรอยเชื่อม และบริเวณเขตอิทธิพลความร้อน โดยการเชื่อมจะใช้เหล็กกล้าทนแรงดันสูง ASTM A285 เกรด C ที่ความหนา 4 มิลลิเมตร รอยต่อชน เชื่อมด้วยกระบวนการเชื่อมอาร์กโลหะแก๊สปกคลุมด้วยหุ่นยนต์เชื่อมอุตสาหกรรม เมื่อทำการเชื่อมเสร็จแล้วนำไปทำกรรมวิธีทางความร้อนหลังการเชื่อม (อบคลายความเค้นตกค้าง) ที่อุณหภูมิ 520, 570 และ 670 องศาเซลเซียส แต่ละอุณหภูมิใช้เวลาในการอบ 30 นาที และ 60 นาที เปรียบเทียบกับชิ้นงานที่ไม่ผ่านการอบคลายความเค้นตกค้าง (Stress Relieve) จากนั้นนำไปตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค และทดสอบค่าความแข็งโดยวิธีการวิกเกอร์ ผลการทดลองพบว่าอุณหภูมิและเวลาในการอบคลายความเค้นตกค้าง มีผลกระทบร่วมต่อค่าความแข็งบริเวณรอยเชื่อม และบริเวณเขตอิทธิพลความร้อน อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 โครงสร้างจุลภาคที่บริเวณรอยเชื่อม และบริเวณเขตอิทธิพลความร้อนของชิ้นงานเชื่อมที่ผ่านการอบคลายความเค้นตกค้าง พบว่าเป็นโครงสร้างเพิร์ลไลท์ โครงสร้างอะซิคลูลาเฟอร์ไรท์ และโครงสร้างวิดแมนสแตทเทนเฟอร์ไรท์ ที่มีเกรนหยาบกว่าชิ้นงานเชื่อมที่ไม่ผ่านการอบคลายความเค้นตกค้าง
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง