การพัฒนาแบบฝึกรูปแบบออนไลน์ เรื่อง การออกแบบรอยเชื่อมรับแรงสถิต

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งPawnpawee Sungsriho, PeechOdpala, Worakan Bunchuairot and Prachaya Peasura

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

หน้าแรก278

หน้าสุดท้าย286

จำนวนหน้า9


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกรูปแบบออนไลน์ เรื่อง การออกแบบรอยเชื่อมรับแรงสถิต 2) เพื่อ
หาประสิทธิ์ภาพแบบฝึกรูปแบบออนไลน์ เรื่อง การออกแบบรอยเชื่อมรับแรงสถิต ตามเกณฑ์มาตราฐาน 75/75 และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกรูปแบบออนไลน์ เรื่อง การออกแบบรอยเชื่อมรับแรงสถิต ของนักศึกษาภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหการระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ และหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เอกวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จากทั้ง 2 หลักสูตร จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกรูปแบบออนไลน์ เรื่อง การออกแบบรอยเชื่อมรับแรงสถิต 2) ข้อสอบวัดความรู้ก่อนและหลังทำแบบฝึกรูปแบบออนไลน์ 3) แบบประเมินความสอดคล้องระหว่างเครื่องมือกับวัตถุประสงค์หรือเนื้อหา (IOC) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลคะแนนระหว่างเรียน (E1) และผลคะแนนหลังเรียน (E2) มีค่าประสิทธิภาพ 76.17 / 75.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความเที่ยงตรงของเครื่องมือวัดแบบฝึกทางการเรียน ของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน จำนวน 12 ข้อ พบว่ามีค่าความเที่ยงตรงของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 0.50 ที่สามารถนำไปใช้ได้จำนวน 9 ข้อ และ 3) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยผลการเรียนรู้เรื่อง การออกแบบรอยเชื่อมรับแรงสถิต หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่า แบบฝึกที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีประสิทธิผลดี และสามารถนำไปใช้ใน การเรียนการสอนได้


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-28-06 ถึง 11:57