ผลของสะตีมศึกษาที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง ธาตุและสารประกอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งSirintorn Seejantuek, Mingkhuan Phaksunchai, Kornvalai Panpae

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

Volume number5

Issue number16

หน้าแรก19

หน้าสุดท้าย31

จำนวนหน้า13

URLhttps://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/257399


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้สะตีมศึกษา เรื่อง ธาตุและสารประกอบ 2) ศึกษาความก้าวหน้าทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้สะตีมศึกษา เรื่อง ธาตุและสารประกอบ และ 3) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาหลังการจัดการเรียนรู้สะตีมศึกษา เรื่อง ธาตุและสารประกอบ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 33 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ซึ่งมีความเหมาะสมในภาพรวมในระดับมากที่สุด ( = 4.54 - 4.71) และแบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหาซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78 ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้สะตีมศึกษา เรื่อง ธาตุและสารประกอบ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนทักษะการแก้ปัญหาทุกกระบวนการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความก้าวหน้าโดยความก้าวหน้าของทักษะการแก้ปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ( = 0.52) 3) คะแนนทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้การจัดการเรียนรู้สะตีมศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 รูปแบบออนไลน์ยังช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ และช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียนให้สูงขึ้น


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-15-03 ถึง 23:05