การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการคำนวณทางคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับกิจกรรมกลุ่มย่อยผ่านมอดูลย่อยการเรียนแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์ (OBEM)
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Tanapon Tomrongkunanan, Tanes Tanitteerapan
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
หน้าแรก: 310
หน้าสุดท้าย: 315
จำนวนหน้า: 6
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการคำนวณทางคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ของนักศึกษา โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับกิจกรรมกลุ่มย่อยผ่านโมดูลย่อย (OBEM) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีจำนวน 80 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง แคลลูลัส โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับกิจกรรมกลุ่มย่อยผ่านโมดูลย่อย (OBEM) 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการคำนวณทางคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับกิจกรรมกลุ่มย่อยผ่านโมดูลย่อย (OBEM) โดยใช้แบบแผนงานวิจัยศึกษากลุ่มเดียว วัดเฉพาะหลังการทดลอง (one-group posttest only design) 3) การศึกษาความพึงพอใจผู้สอนต่อการเรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ (แคลคูลัส) โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับกิจกรรมกลุ่มย่อยผ่านโมดูลย่อย (OBEM) สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดคำนวณคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับกิจกรรมกลุ่มย่อยผ่านโมดูลย่อย (OBEM) มีคะแนนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของเกณฑ์มาตรฐาน 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนที่มีการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับกิจกรรมกลุ่มย่อยผ่านโมดูลย่อย (OBEM) ใช้แบบแผนงานวิจัยศึกษากลุ่มเดียว วัดเฉพาะหลังการทดลอง (one-group post-test only design) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ (แคลคูลัส) โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับกิจกรรมกลุ่มย่อยผ่านโมดูลย่อย (OBEM) ค่าเฉลี่ยรวมการจัดการเรียนการสอน ถือว่าสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง