การพัฒนาระบบการให้มาตรฐานและสมรรถนะหลักสำหรับอาชีพนักการยศาสตร์ในประเทศไทย
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Manida S. Neubert, Naris Charoenporn, Wattana Jalayondeja, Sakol Teeravarunyou, Teeraphun Kaewdok, Keerin Mekhora, Sasitorn Taptagaporn & Sara Arphorn
ผู้เผยแพร่: Taylor and Francis Group
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
ชื่อย่อของวารสาร: TTIE
นอก: 1463-922X
eISSN: 1464-536X
URL: https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/1463922X.2023.2190788
ภาษา: English-United States (EN-US)
บทคัดย่อ
เพื่อลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์สำหรับพนักงาน หลายอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีความต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านการยศาสตร์ อย่างไรก็ตามหลักสูตรวิชาการส่วนใหญ่จัดทำโดยอาจารย์ที่มีพื้นฐานด้านปัจจัยมนุษย์และการยศาสตร์ (Human Factor and Ergonomics - HFE) ที่มีข้อจำกัดด้านความรู้ด้าน Physical หรือ Cognitive อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อที่จะประเมินและออกแบบระบบตามหลักการมาตรฐานของ HFE หลักสูตรควรจัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญ HFE ที่น่าเชื่อถือและอิงตามความรู้แบบองค์รวม วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือ การพัฒนาวิชาชีพการยศาสตร์ในประเทศไทยโดยมีกระบวนการรวบรวมรายละเอียดของการศึกษาผ่านแบบสอบถามและการระบุความต้องการจากภาคอุตสาหกรรมผ่านการสัมภาษณ์กลุ่ม ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงการขาดการพิจารณาองค์รวมของความรู้ และการศึกษาในประเทศไทยมุ่งเน้นหลักเกี่ยวกับการยศาสตร์ทาง Physical เท่านั้น นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลจากภาคอุตสาหกรรมเกี่ยวกับประสบการณ์ที่จำกัด ทักษะในการออกแบบ และการใช้วิธีการประเมินเชิง objective ของผู้ทำงานด้านการยศาสตร์ ข้อมูลจากการวิจัยนี้ถูกนำมาใช้เพื่อประกอบการพัฒนาสมรถนะของนักการยศาสตร์และระบบนำร่องของการรับรองนักการยศาสตร์ สมรรถนะและระบบที่พัฒนาขึ้นได้นำไปเผยแพร่และได้รับข้อเสนอเพิ่มเติมเพื่อนำมาปรับปรุงระบบการรับรองนักการยศาสตร์ระดับมืออาชีพให้มีความชัดเจนมากขึ้น
คำสำคัญ
Certified professional ergonomist, Ergonomics