ประสิทธิผลของการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ผ่านกิจกรรมคู่ขนานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาไพทอน

Poster


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งPussadee Yangklan, Nitima Aschariyaphotha and Prapanporn Rattana

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

หน้าแรก127

หน้าสุดท้าย128

จำนวนหน้า2


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สัดส่วนของนักศึกษาที่สอบผ่านตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้จากการทำแบบทดสอบหลังเรียน เรื่องอินทิกรัล 2) ศึกษาความพึงพอใจและทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ผ่านกิจกรรมคู่ขนานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วยภาษาไพทอน 3) วิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของนักศึกษา เรื่องฟังก์ชันหลายตัวแปร ผ่านกิจกรรมคู่ขนาน ในห้องเรียนและการเรียนผ่านระบบออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พื้นที่การศึกษาราชบุรี ที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบประเมินความพึงพอใจ แบบประเมินทัศนคติและแบบทดสอบหลังเรียน การจัดกิจกรรมใช้รูปแบบห้องเรียน 3 ครั้งและออนไลน์ 1 ครั้ง เนื้อหาประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ ลิมิต อนุพันธ์ อินทิกรัลและฟังก์ชันหลายตัวแปร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test)

                  ผลการวิจัยพบว่าสัดส่วนของนักศึกษาที่สอบผ่านตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้จากการทำแบบทดสอบหลังเรียน เรื่องอินทิกรัล มีสัดส่วนไม่มากกว่า 0.6 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05  นักศึกษามีความพึงพอใจด้านเนื้อหาในการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุดทุกหัวข้อ และมีทัศนคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ผ่านกิจกรรมคู่ขนานในระดับเห็นด้วยมากขึ้นไป และความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องฟังก์ชันหลายตัวแปร ผ่านกิจกรรมคู่ขนาน ในห้องเรียนและการเรียนผ่านระบบออนไลน์ ด้านเนื้อหาในการเรียนการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ:  กิจกรรมคู่ขนาน  ภาษาไพทอน  การเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ 


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-28-06 ถึง 11:59