การวิเคราะห์โครงการผลิตหมึกพิมพ์รองพื้นสีขาวฐานตัวทำละลายสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Phichit Kajondecha and Anan Tanwilaisiri
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2021
วารสาร: วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร (1906-0432)
Volume number: 15
Issue number: 2
หน้าแรก: 63
หน้าสุดท้าย: 74
จำนวนหน้า: 12
นอก: 1906-0432
URL: https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/RMUTP/article/view/241033
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์โครงการผลิตหมึกพิมพ์รองพื้นสีขาวฐานตัวทำละลายสำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว มี
วัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตหมึกพิมพ์สีขาวทดแทนของเดิมที่ใช้งานในปัจจุบัน โดย
ทำการศึกษาและเปรียบเทียบคุณสมบัติและคุณภาพทางการพิมพ์ของหมึกพิมพ์สีขาวที่สร้างขึ้นสำหรับการพิมพ์บน
บรรจุภัณฑ์ประเภทฟิล์มพลาสติก มีวิธีการดำเนินการได้แก่ การหาผสมอัตราส่วนของหมึกพิมพ์สีขาวของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน 7 กลุ่ม ทำการทดสอบคุณสมบัติของหมึกพิมพ์ในด้านค่าปริมาณของแข็งในหมึกพิมพ์ (Solid Content) ค่า
ความละเอียดของอนุภาคหมึกพิมพ์ (Grinding) แล้วนำหมึกพิมพ์ตัวอย่างไปพิมพ์แล้วทำการทดสอบคุณภาพงานพิมพ์
โดยตรวจสอบคุณภาพด้านค่าความแตกต่างสี (ΔE*ab) ค่าความทึบแสง (Opacity) บนฟิล์มพลาสติกชนิดพอลีเอทิลีน
เทเรฟธาเรต (PET) และฟิล์มพลาสติกชนิดโอเร็นเทต โพลีโลพีลีน (OPP) แล้วนำไปทำการตรวจสอบค่าการยึดติด
(Bond Strength) โดยการนำไปทำการเคลือบแบบรีดร่วม (Extrusion) ผลการศึกษาพบว่า คุณสมบัติของหมึกพิมพ์
และคุณภาพงานพิมพ์ของหมึกตัวอย่างที่ 5 ได้ผลการทดลองผ่านมาตรฐานในทุกด้าน หลังจากนั้น ได้ทำการศึกษา
ความเป็นไปได้ทางการเงินและผลตอบแทนการลงทุน ผลการศึกษาพบว่า หมึกพิมพ์ที่ได้จากการทดลองจะสามารถลด
ต้นทุนของการซื้อหมึกพิมพ์ได้ 25 บาทต่อกิโลกรัม โครงการนี้มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิของผลตอบแทน (NPV) เท่ากับ
5,053,593 บาท อัตราผลตอบแทน (IRR) เท่ากับร้อยละ 54.79 ระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 1 ปี 8 เดือน อัตราส่วน
ผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio) เท่ากับ 1.25 จากผลการศึกษาทั้งหมด สรุปได้ว่าโครงการผลิตหมึกพิมพ์รองพื้น
สีขาวฐานตัวทำละลายสำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์ สามารถผลิตหมึกพิมพ์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการใช้งาน และมี
ความเหมาะสมต่อการลงทุน
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง