การบำบัดเถ้าจากโรงไฟฟ้าขยะชุมชนโดยเทคนิคการทำเป็นก้อนแข็ง

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งP Losiri, S Asavapisit and R Piyapanuwat

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

หน้าแรก69

หน้าสุดท้าย75

จำนวนหน้า7

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้ศึกษาการบ้าบัดเถ้าลอย และเถ้าก้นเตาจากโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะชุมชนเป็นเชื้อเพลิงด้วยเทคนิคการท้าเป็น ก้อนแข็งโดยใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เป็นตัวยึดประสาน อัตราส่วนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ต่อเถ้าลอย และเถ้าก้นเตา เท่ากับ 100:0, 70:30, 50:50 และ 30:70 โดยน้้าหนัก โดยศึกษาความสามารถในการรับก้าลังอัด และการรั่วไหลของโลหะหนัก (ตะกั่ว, แคดเมียม, โครเมียม, ทองแดง, นิกเกิล และสังกะสี) คลอไรด์ และซัลเฟตจากก้อนของเสียหล่อแข็งที่มีอายุ 28 วันด้วยวิธี Toxicity Characteristic Leaching Procedure ที่ใช้สารละลายกรดอะซิติก พีเอช 2.88 เป็นตัวชะละลาย ผลการศึกษาพบว่าที่อายุการบ่ม 28 วัน ก้อนของเสียหล่อแข็งที่อัตราส่วนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ต่อเถ้าลอย และเถ้าก้นเตา 70:30, 50:50 และ 30:70 โดยน้้าหนัก มีค่าก้าลังแรงอัดเท่ากับ 60, 45, 14 และ 53, 44 และ 37 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามล้าดับ ในขณะที่ตัวอย่างควบคุมที่ อัตราส่วน 100:0 มีค่าเท่ากับ 65 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร อย่างไรก็ดีทุกอัตราส่วนการผสมเถ้าลอย และเถ้าก้นเตามีค่าก้าลัง รับแรงอัดสูงกว่าค่ามาตราฐานก้อนของเสียหล่อแข็งของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (3.5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร) ส้าหรับการ วิเคราะห์การรั่วไหลของโลหะหนักจากก้อนของเสียหล่อแข็งด้วยเครื่อง Inductively Coupled Plasma พบสังกะสี ตะกั่ว โครเมียม และแคดเมียมในน้้าชะที่สัมผัสกับก้อนของเสียหล่อแข็งทุกอัตราส่วนผสมมีความเข้มข้นต่้ากว่าค่ามาตรฐานที่ก้าหนดโดย กรมโรงงานอุตสาหกรรม (ค่ามาตรฐานส้าหรับสังกะสี ตะกั่ว โครเมียม และแคดเมียม เท่ากับ 5, 5, 5 และ1 มิลลิกรัมต่อลิตร) ในขณะที่คลอไรด์ และซัลเฟตในน้้าชะที่วิเคราะห์ด้วยเครื่อง Ion Chromatography พบว่าน้้าชะที่สัมผัสกับก้อนของเสียหล่อแข็ง ทุกอัตราส่วนผสมมีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานของกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ก้าหนดความเข้มข้นคลอไรด์ และซัลเฟต มีค่าไม่เกิน 600 และ 250 มิลลิกรัมต่อลิตรตามล้าดับ


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-25-07 ถึง 23:05