การศึกษาเชิงทดลองการลุกไหม้ได้เองของแกลบ

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งThanet Unchaisri, Pawin Chaivatamaset, Somboon Wetchakama and Waraporn Methawiriyasilp

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

หน้าแรก259

หน้าสุดท้าย271

จำนวนหน้า13

URLhttps://rcimcon.rcim.in.th/

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงทดลองการลุกไหม้ได้เองของแกลบ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อหาอุณหภูมิลุกไหม้ได้เอง (Spontaneous Ignition) ของแกลบโดยวิธีของ Frank-Kamenetskii (2) เพื่อหาค่าสมบัติ (Kinetic parameter) การลุกไหม้ได้เองของแกลบ (3) เพื่อหาขนาดกองเก็บของแกลบที่ปลอดภัยจากการลุกไหม้ด้วยตัวเอง การทดลองดำเนินการโดยนำแกลบที่มีความชื้นเริ่มต้นอยู่ที่ร้อยละ 11 (ตามาตรฐานเปียก) และมีค่าความหนาแน่นบรรจุอยู่ที่ 223 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ใส่ในตะแกรงทดสอบรูปทรงสี่เหลี่ยมทรงลูกบาศก์ 3 ขนาดที่ต่างกัน ซึ่งมีขนาดด้านละ 8 เซนติเมตร, 10 เซนติเมตร และ 12 เซนติเมตร และตะแกรงมีขนาดช่องว่าง 0.5 มิลลิเมตร การทดลองทำในตู้อบที่มีการไหลเวียนอากาศเป็นอย่างดี ผลการศึกษาประกอบด้วย (1) อุณหภูมิการลุกไหม้ได้เองอยู่ที่ 188 องศาเซลเซียส, 181 องศาเซลเซียส และ 175 องศาเซลเซียส สำหรับตะแกรงรูปทรงสี่เหลี่ยมทรงลูกบาศก์ที่มีความยาวด้านละ 8, 10 และ 12 เซนติเมตร ตามลำดับ (2) ค่าสมบัติ (Kinetic parameter) การลุกไหม้ได้เองของแกลบในเทอมของค่าพลังงานการกระตุ้น () มีค่า 114.7 กิโลจูล/โมล และ (3) ขนาดกองเก็บที่ปลอดภัยคือพื้นที่ใต้เส้นกราฟ เช่น ที่อุณหภูมิแวดล้อม 40 องศาเซลเซียส เชื้อเพลิงแกลบกองรูปทรงกระบอกมีรัศมีทรงกระบอก () 40 เมตร ค่าความสูงของทรงกระบอก () จะต้องไม่เกิน 30 เมตร เป็นต้น และถ้าเชื้อเพลิงแกลบกองเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมสูง () 60 เมตร จะต้องมีความยาว () ต่ำกว่า 40 เมตร และลึก () ไม่มากกว่า 10 เมตร (ที่อัตราส่วนความยาว,  ต่อความลึก,  = 4) เป็นต้น


คำสำคัญ

ชีวมวล


อัพเดทล่าสุด 2023-05-07 ถึง 23:05