การเชื่อมอะลูมิเนียมต่างชนิดระหว่าง ADC3 และ AA5052 โดยการเชื่อมเสียดทานแบบกวน

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งSininad Buangam, Supatas Sangthong, Somluk Ubonwat, Phromphong Pandee

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

หน้าแรก735

หน้าสุดท้าย740

จำนวนหน้า6


บทคัดย่อ

การเชื่อมเสียดทานแบบกวนเป็นกระบวนการเชื่อมในสภาวะของแข็ง ซึ่งมีความร้อนเข้าสู่แนวเชื่อมต่ำ และไม่มีส่วนประกอบที่เป็นโลหะผสมถูกเพิ่มเข้าไปในแนวเชื่อม การเชื่อมแบบกวนด้วยแรงเสียดทานสามารถเชื่อมได้ทั้งวัสดุชนิดเดียวกันและต่างชนิดกัน การเชื่อมประกอบระหว่างโลหะอะลูมิเนียมผสมหล่อและโลหะอะลูมิเนียมรีดขึ้นรูปมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในหลากหลายอุตสาหกรรม งานวิจัยนี้เป็นการเชื่อมโลหะอะลูมิเนียมผสมหล่อเกรด ADC3 และโลหะอะลูมิเนียมผสมรีดเกรด AA5052 ภายใต้ความเร็วรอบในการหมุนของหัวเชื่อม 1500-2100 รอบต่อนาที และใช้ความเร็วในการเดินเชื่อม 500-600 มิลลิเมตรต่อนาที โดยในส่วนของพารามิเตอร์อื่น ๆ จะกำหนดให้มีค่าคงที่ ทำการตรวจสอบโครงสร้างทางจุลภาค ความแข็ง และขนาดของรูที่เกิดขึ้นภายในเนื้อเชื่อม ลักษณะโครงสร้างทางจุลภาคของรอยเชื่อมแสดงให้เห็นถึงโครงสร้าง     ยูเทคติกซิลิคอนในอะลูมิเนียมหล่อ ADC3 มีขนาดเล็กลงในบริเวณที่เกิดการกวนของเนื้อโลหะ จากการตรวจสอบทางโลหวิทยาเผยให้เห็นรูภายในรอยเชื่อม โดยบริเวณที่มีการเกิดรูคือบริเวณด้านแอดแวนซิ่ง นอกจากนี้การตรวจสอบค่าความแข็งของรอยเชื่อมตามเงื่อนไขต่าง ๆ พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ โดย ADC3 มีค่าความแข็งมากกว่า AA5052 เนื่องจาก ADC3 มีปริมาณของซิลิคอนผสมอยู่มากจึงส่งผลทำให้มีความแข็งสูง


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-07-07 ถึง 23:05