การเปรียบเทียบตัวแบบการจำแนกการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Porntip Dechpichai, Thunpitcha Sattabun, Rattana Mekwan, Apittha Arunyapal
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
Volume number: 16
Issue number: 1
หน้าแรก: 56
หน้าสุดท้าย: 70
จำนวนหน้า: 15
นอก: 1906-2141
eISSN: 2697-4401
URL: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/journalup/article/view/253438
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบตัวแบบที่เหมาะสมสำหรับการจำแนกและศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเป็นโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า โดยใช้ข้อมูลเวชระเบียนของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60ปีขี้นไป และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในปีพ.ศ. 2561 จำนวน 28,928 คน และเนื่องจากข้อมูลไม่สมดุลจึงใช้เทคนิคสังเคราะห์ข้อมูลเพิ่ม (SMOTE) เพิ่มข้อมูลให้มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน แล้วแบ่งข้อมูลเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 (80%) สำหรับสร้างตัวแบบด้วยวิธีการการถดถอยลอจิสติกทวิภาค (glm) และต้นไม้ตัดสินใจแบบ ID3, CART, J48, CTREE และ C5.0 ร่วมกับ Bootstrap Aggregating (Bagging) และชุดที่ 2 (20%) สำหรับประเมินประสิทธิภาพของตัวแบบผลการวิจัยพบว่า อัตราความชุกของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองเป็น 5.50% (95%CI 5.24% -5.76%) และตัวแบบที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด คือ ตัวแบบต้นไม้ตัดสินใจแบบ C5.0โดยมีค่าความแม่นยำร้อยละ 95.31 ค่าความไว ร้อยละ 94.48 ค่าความจำเพาะ ร้อยละ 96.12 ค่าทำนายผลบวก ร้อยละ 95.93 และค่าทำนายผลลบ ร้อยละ 94.73 และจากตัวแบบต้นไม้ตัดสินใจแบบ C5.0 พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุเรียงตามลำดับความสำคัญคือ ภาวะหลอดเลือดสมองครั้งคราว อายุ ภาวะโลหิตจาง โรคลมชัก การสูบบุหรี่ ภาวะแข็งตัวของเลือดผิดปกติและเลือดออก การบาดเจ็บที่ศีรษะ กลุ่มโรคหัวใจ โรคมะเร็ง การดื่มแอลกอฮอล์ โรคไต การมีอุปกรณ์ฝังและปลูกถ่ายของหัวใจและหลอดเลือด เพศ โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน ค่าดัชนีมวลกาย กลุ่มโรคของหลอดเลือดแดง หลอดเลือดแดงย่อย และหลอดเลือดฝอย และโรคลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด ส่วนปัจจัยที่ไม่ได้ใช้ในการจำแนกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คือ กลุ่มโรคอ้วนและภาวะโภชนาการเกิน และภาวะเผาผลาญไขมันผิดปกติ
คำสำคัญ
Imbalanced data, โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)