สมบัติทางกลของอิฐโบราณ และกำลังรับแรงอัดของอิฐก่อเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานในเชียงแสน

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งชวัลวิทย์ ภารสงัด ,พีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชัย, กันตภณ จินทราคำ, วีรชาติ ตั้งจิรภัทร, ชัยณรงค์ อธิสกุล และ สุทัศน์ ลีลาวทวีวัฒน์

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

หน้าแรกMAT02-1

หน้าสุดท้ายMAT02-8

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะหาสมบัติทางกลของอิฐ
โบราณจากโบราณสถานในเชียงแสน โดยได้ทำการทดสอบสมบัติทางกลใน
ห้องปฏิบัติการ ได้แก่ กำลังรับแรงอัด ความหนาแน่น และความพรุน โดย
ทดสอบกำลังรับแรงอัดของอิฐในรูปแบบลูกบาศก์ และนำเสนอวิธีการ
ทดสอบอิฐก่อทดแทนรูปแบบปริซีมแบบมีวัสดุประสานเพื่อหากำลังอัดและ
ค่าคงที่ยืดหยุ่น โดยตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบนั้นได้รับการสนับสนุนจาก
กรมศิลปากร ตัวอย่างอิฐทดแทนที่ใช้ในการทดสอบผลิตขึ้นตามแนวทาง
ของกรมศิลปากรสำหรับใช้ในงานเชิงอนุรักษ์โบราณสถานของไทย วัสดุ
ประสานที่ใช้ในงานทดสอบจะใช้ส่วนผสมโดยน้ำหนักของปูนซีเมนต์ขาว
ปูนหมัก และทรายในอัตราส่วน 1:8:24 ตามลำดับ อิฐก่อที่ใช้ในการ
ทดสอบก่อด้วยอิฐทดแทนขนาด 15x30x5 ซม3 ในรูปแบบปรึซึม
สี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อเต็มผ่านตามแนวราบ 6 แผ่น ในการทดสอบนั้นใช้
เครื่องมือวัดระยะการยุบตัวเพื่อใช้ในการหาค่าคงที่ยีดหยุ่นของอิฐก่อ ผลที่
ได้จากการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์โบราณสถานของไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งโบราณสถานในเชียงแสน


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-25-07 ถึง 23:05