ข้อมูลการสแกนวัตถุ 3 มิติและการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ของ วัดพระราม

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งฐานวัฒน์ จินานุสรณ์ พีรสิทธิ์ มหาสุวรรณชัย สุวัจน์ชัย แก้วมาคูณ ชัยณรงค์ อธิสกุล และ สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

หน้าแรกSTR25-1

หน้าสุดท้ายSTR25-9


บทคัดย่อ

วัดพระรามเป็นวัดที่สร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนต้น ซึ่งเป็นโบราณสถานที่
มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เจดีย์องค์
ประธานเป็นเจดีย์ทรงปรางค์ โดยได้อิทธิพลมาจากเมืองละโว้ หรือเขมร
โบราณ การทราบลักษณะทางกายภาพที่ชัดเจนร่วมกับองค์ความรู้เชิงลึกใน
พฤติกรรมของตัวโครงสร้างมีความสำคัญอย่างมากต่อการอนุรักษ์โบราณ
สถานที่สำคัญแห่งนี้ ด้วยเหตุนี้งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายที่จะนำเสนอการใช้
เทคโนโลยีสแกนวัตถุ 3 มิติ ด้วยแสงเลเซอร์และการวิเคราะห์โครงสร้าง
ด้วยวิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์สำหรับวัดพระราม โดยข้อมูลกลุ่มจุด 3 มิติที่ได้
จากเทคโนโลยีการสแกนวัตถุ 3 มิติด้วยแสงเลเซอร์จะนำไปใช้ในการ
วิเคราะห์สภาพตำแหน่งปัจจุบันรวมถึงความโน้มเอียงที่ตำแหน่งยอดของ
เจดีย์ ผลการศึกษาพบว่าเจดีย์มีความสูงอยู่ที่ 40.54 เมตร และพบว่าเจดีย์
เอียงตัวไปในทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นมุม 0.34 องศา จากข้อมูลการสำรวจ
พบว่าวัสดุหลักที่ใช้สร้างเจดีย์ประกอบด้วยวัสดุพื้นฐาน 2 ชนิดได้แก่อิฐ
โบราณและศิลาแลงซึ่งทำให้การวิเคราะห์โครงสร้างวัดพระรามเป็นปัญหาที่
ท้าทาย ดังนั้นการศึกษานี้จึงนำวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์มาใช้ในการประเมินการ
กระจายความเค้นและวิเคราะห์พฤติกรรมการสั่นอิสระของเจดีย์ พบว่าค่า
ความเค้นดึงสูงสุดมีค่าเท่ากับ 233.80 กิโลปาสคาล และค่าความเค้นอัดมี
ค่าเท่ากับ 1241.02 กิโลปาสคาล ซึ่งในที่สุดจะทำให้สามารถแสดงข้อมูล
การกระจายความเค้นที่เกิดขึ้น รูปแบบความเสียหายที่สามารถเป็นไปได้
รวมถึงค่าความถี่ธรรมชาติและรูปแบบการสั่นของเจดีย์ โดยจะแสดงการ
เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ที่ได้จากการใช้สมบัติวัสดุสองชนิดที่แตกต่าง
กันในแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-25-07 ถึง 23:05