การจัดการของเสียในห่วงโซ่อุปทานการผลิตฟักทองญี่ปุ่นภายใต้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน: กรณีศึกษาการปลูกบนพื้นที่สูง
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Nalinrath Thaworncharoena and Kanokporn Kungwalsong
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
วารสาร: วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม (1906-5485)
Volume number: 19
Issue number: 1
หน้าแรก: 44
หน้าสุดท้าย: 65
จำนวนหน้า: 22
นอก: 1906-5485
URL: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/259470
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาการจัดการของเสียในโซ่อุปทานฟักทองญี่ปุ่นนี้ ครอบคลุมตั้งแต่การปลูกไปจนถึงการแปรรูปเพื่อจำหน่ายเนื้อฟักทอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณของเสียทางการเกษตร และวิธีการจัดการของเสียที่เกิดขึ้น โดยเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างของเกษตรกร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 20 ราย ในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม และเดือนพฤศจิกายน ปีพ.ศ.2562 โดยของเสียที่เกิดขึ้นมีหลายประเภท อาทิ ยอด-ใบอ่อน, ผลอ่อน, ผลฟักทองตกเกรด, เถา, เปลือกฟักทอง และเมล็ด โดยมีปริมาณสูงถึง 1,600 ตัน/ปี จากการเพาะปลูก 324,000 ต้น/ปี ในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่าของเสียประเภทใดที่สามารถแปรรูปได้ง่ายควรส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยดำเนินการเอง อาทิ การนำเถาฟักทองญี่ปุ่นมาผลิตเป็นถ่านไบโอชาร์ และของเสียที่จำเป็นต้องมีการลงทุน และใช้เทคโนโลยีควรดำเนินการโดยการจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน อาทิ การนำเมล็ดฟักทองมาผลิตเป็นน้ำมันสกัด ซึ่งข้อเสนอแนะนี้ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งมิติการลดของเสีย และการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเกษตรกร และชุมชนในโซ่คุณค่าของฟักทองญี่ปุ่น ในขณะเดียวกันเกษตรกรควรจัดการของเสียที่สามารถส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น อาทิ การเผาทำลายต้นฟักทองญี่ปุ่นที่ติดโรค เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อแปลงเพาะปลูกในอนาคต
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง