การคัดเลือกและวิเคราะห์กลุ่มพนักงานที่มีศักยภาพสูงโดยใช้การเรียนรู้ของเครื่อง

Poster


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งญาณัจฉรา ไขศรี ลักคณา วงละคร วศิน หีมเขียว และ พรทิพย์ เดชพิชัย

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

ชื่อชุดThe 27th Annual Meeting in Mathematics 2023 (AMM 2023) and International Conference in Number Theory and Applications 2023 (ICNA 2023)

หน้าแรก67

หน้าสุดท้าย67

จำนวนหน้า1

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบตัวแบบในการคัดเลือกพนักงานที่มีศักยภาพสูง ด้วยเทคนิคการถดถอยลอจิสติก (Logistic Regression) นาอีฟเบส์ (Naïve Bayes) ต้นไม้ตัดสินใจแบบจำแนกและแบบถดถอย (Decision tree : CART) และซัพพอร์ตเวคเตอร์แมชชีน (Support Vector Machine : SVM) โดยใช้ข้อมูลอายุพนักงาน (ปี) อายุการทำงาน (ปี) และผลการปฏิบัติงาน ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในปี พ.ศ. 2564 จำนวน 13,933 ราย โดยแบ่งข้อมูลเป็น 2 ชุด คือ ชุดฝึกสอน (Training set) สำหรับการสร้างตัวแบบ จำนวน 9,753 ราย และชุดทดสอบ (Test set) สำหรับการวัดประสิทธิภาพของตัวแบบจำนวน 4,180 ราย และวิเคราะห์กลุ่มพนักงานที่มีศักยภาพสูงขององค์กรจำนวน 7,754 ราย ด้วยวิธี K-Means และวัดประสิทธิภาพของการวิเคราะห์กลุ่มด้วยค่าทดสอบ Silhouette

ผลการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบพบว่าตัวแบบต้นไม้ตัดสินใจแบบจำแนกและแบบถดถอยให้ค่าความถูกต้องสูงที่สุด รองลงมา คือ ตัวแบบซัพพอร์ตเวคเตอร์แมชชีน ตัวแบบการถดถอยลอจิสติก และตัวแบบนาอีฟเบส์ ตามลำดับ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการได้รับคัดเลือกเป็นพนักงานที่มีศักยภาพสูง คือ อายุพนักงาน รองลงมา คือ ผลการปฏิบัติงาน อายุการทำงาน ตามลำดับ ส่วนผลการวิเคราะห์กลุ่มพนักงานที่มีศักยภาพสูงจำนวน 3 กลุ่ม พบว่าพนักงานกลุ่มแรกร้อยละ 51.68 เป็นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพการทำงานดีเยี่ยม ส่วนกลุ่มสองร้อยละ 32.99 มีประสิทธิภาพการทำงานรองลงมา และกลุ่มสุดท้ายร้อยละ 15.33% เป็นกลุ่มที่ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน



คำสำคัญ

K-Meansการถดถอยลอจิสติกซัพพอร์ตเวคเตอร์แมชชีนต้นไม้ตัดสินใจนาอีฟเบส์วิเคราะห์กลุ่ม


อัพเดทล่าสุด 2023-06-08 ถึง 23:05