การสร้างแบบจําลองสําหรับสภาวะที่เหมาะสมในการไหลผ่านน้ำเสียของเยื่อแผ่นสําหรับการบําบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรส
Poster
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: สุทธิพงศ์ อริยมงคลชัย ปรมี วิทยานุพงศ์ และ พรทิพย์ เดชพิชัย
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
หน้าแรก: ุ68
หน้าสุดท้าย: 68
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสที่มีการใช้สัตว์น้ำเค็มและสัตว์น้ำจืดเป็นส่วนประกอบ มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหามลพิษทางน้ำ และเนื่องจากการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับเยื่อแผ่นที่พัฒนาขึ้นเพื่อบำบัดน้ำเสียในห้องปฏิบัติการจะใช้เวลาและทรัพยากรมาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบแบบจําลองและศึกษาสภาวะการทํางานที่เหมาะสมต่อการไหลผ่านของเยื่อแผ่นที่พัฒนาขึ้นสําหรับการบําบัดน้ำเสียจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสที่มีการใช้สัตว์น้ำเค็มและสัตว์น้ำจืดเป็นส่วนประกอบ โดยศึกษา 3 ปัจจัย คือ ความเร็วรอบกวน (รอบต่อนาที) ความดัน (บาร์) และความเข้มข้นขาเข้า (มิลลิกรัมต่อลิตร) ด้วย ตัวแบบโครงข่ายประสาทเทียม และสมการถดถอยพหุนามกําลังสอง
ผลการวิเคราะห์พบว่าตัวแบบโครงข่ายประสาทเทียมมีประสิทธิภาพดีกว่าตัวแบบสมการถดถอยพหุนามกําลังสอง เนื่องจากมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจสูงกว่า (r2=0.964) และจากค่าความสําคัญสัมพัทธ์และค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจของตัวแปรนําเข้าของตัวแบบโครงข่ายประสาทเทียม พบว่า ปัจจัยที่มีความสําคัญมากที่สุด คือ ความดัน รองลงมาคือ ความเร็วรอบกวนและความเข้มข้นขาเข้า ตามลําดับ สำหรับสภาวะที่เหมาะสมของร้อยละการไหลผ่านของเยื่อแผ่นที่ลดลงต่ำที่สุด คือ ความเร็วรอบกวน 238 รอบต่อนาที ความดัน 1 บาร์ และความเข้มข้นขาเข้า 500 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งจะให้ค่าร้อยละการไหลผ่านของเยื่อแผ่นที่ลดลง เท่ากับ 36.35
คำสำคัญ
การไหลผ่าน, ความสําคัญสัมพัทธ์, ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ, โครงข่ายประสาทเทียม, สมการถดถอยพหุนามกําลังสอง