การเตรียมวัสดุคอมโพสิตที่สามารถย่อยสลายได้จากเส้นใยผักตบชวา
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: วริษฐา จันทพร, ชณันภัสร์ วรพัฒนะลักษณ์, พิธัชชัย อรัญวงศ์, ภูเบศ มโนภิรมย์ และเกียรตินัฏพล จึงเจริญพูน
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
บทคัดย่อ
เส้นใยผักตบชวาสามารถประยุกต์ใช้ในบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นนั้นสามารถย่อยสลายได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวัสดุคอมโพสิตจากเส้นใยผักตบชวา ด้วยวิธีการอบแห้งร่วมกับการขึ้นรูปด้วยการอัดร้อน โดยอาศัยไคโตซานและอัลคิลเคทีนไดเมอร์ (AKD) เป็นสารเพิ่มความแข็งแรงและสารกันซึม นอกจากนี้ได้ทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ อาทิ ความต้านทานแรงดึง ความต้านทานการดูดซึมน้ำมัน การบวมตัว มุมสัมผัสน้ำ และความสามารถในการย่อยสลาย โดยศึกษาอัตราส่วนระหว่างไคโตซาน AKD และเส้นใยผักตบชวา พบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณ AKD ส่งผลให้แผ่นคอมโพสิตมีประสิทธิภาพในการต้านทานน้ำสูงขึ้น ส่วนการเพิ่มไคโตซานทำให้ทนต่อแรงดึงได้มากขึ้น สำหรับการต้านทานการดูดซึมของน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณ AKD และไคโตซาน นอกจากนี้การใส่ AKD และไคโตซานจะส่งผลให้อัตราการย่อยสลายช้าลง
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง