การนำกลับฟอสฟอรัสโดยใช้ถังปฏิกรณ์แบบต่อเนื่องเพื่อผลิตสตรูไวท์จากน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดด้วยกระบวนการทางชีวภาพ
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Danai Maddewor and Patiya Kemacheevakul
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
หน้าแรก: 155
หน้าสุดท้าย: 161
จำนวนหน้า: 7
บทคัดย่อ
ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันนี้หินฟอสเฟตมีปริมาณลดลงเป็นอย่างมาก ทำให้อาจมีการคลาดแคลนได้ในอนาคต นอกจากนั้นการเมื่อปล่อยน้ำเสียที่มีฟอสเฟตลงสู่ธรรมชาติยังก่อให้เกิดปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชัน ส่งผลให้แหล่งน้ำเน่าเสีย ดังนั้นการนำกลับฟอสฟอรัสจากน้ำเสียจึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนหินฟอสเฟตและแหล่งน้ำเน่าเสียได้ โดยงานวิจัยนี้ศึกษาการนำกลับฟอสฟอรัสโดยใช้ถังปฏิกรณ์แบบต่อเนื่องเพื่อผลิตปุ๋ยสตรูไวท์จากน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดด้วยกระบวนการทางชีวภาพ โดยน้ำเสียที่ใช้ คือ น้ำเสียมูลวัวผสมหญ้าเนเปียร์ ซึ่งการทดลองส่วนแรกจะเป็นการหาค่าพีเอชที่เหมาะสม โดยพบว่าค่าพีเอชที่ดีที่สุด คือ พีเอช 9 อีกทั้งยังไม่ต้องเติมธาตุอาหารอื่นเพิ่มอีกด้วย ส่วนที่สองจะศึกษาการเกาะติดของสตรูไวท์บนแผ่นวัสดุ ซึ่งวัสดุที่เลือกมาทดสอบ ได้แก่ อะคริลิค อะลูมิเนียม เหล็กกัลวาไนซ์ และสแตนเลส โดยพบว่าสแตนเลสมีสตรูไวท์เกาะติดน้อยที่สุด จึงเหมาะที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุในการสร้างถังปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง และในส่วนสุดท้ายของการทดลองเป็นการทดสอบถังปฏิกรณ์แบบฟลูอิดไดซ์เบดที่ได้ออกแบบขึ้น ซึ่งพบว่าที่ระยะเวลากักเก็บชลศาสตร์ 2 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพการนำกลับฟอสฟอรัสที่สูงถึง 81% จึงเหมาะในการนำถังปฏิกรณ์นี้ไปประยุกต์ใช้งานจริง
คำสำคัญ
continuous reactor, material, phosphorus recovery, Stainless steel, struvite, wastewater from cow manure and napier grass