การประเมินวัฏจักรชีวิตของการใช้ประโยชน์ของเสียจากฟาร์มโคนม

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งApichaya Kanchanapaetnukul and Thapat Silalertruksa

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

หน้าแรก49

หน้าสุดท้าย55

จำนวนหน้า7

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

การทำปศุสัตว์ฟาร์มโคนมจัดเป็นหนึ่งในแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินเปรียบเทียบประสิทธิภาพความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของแนวทางการนำของเสียที่เกิดขึ้นอย่างมูลสัตว์ ปัสสาวะ และน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเลี้ยงโคนมและการผลิตน้ำนมดิบ โดยใช้การประเมินวัฏจักรชีวิตด้วยวิธี ReCiPe Midpoint Impact (Hierarchist: H) การศึกษาเปรียบเทียบ 4 กรณีการจัดการของเสีย ได้แก่ (1) กรณีฐาน: การทิ้งของเสียไว้ในบ่อเปิด (2) การแยกตะกอนเพื่อผลิตปุ๋ยน้ำและปุ๋ยอินทรีย์ (3) การใช้กระบวนการย่อยแบบไม่ใช้อากาศเพื่อผลิตปุ๋ยน้ำและปุ๋ยอินทรีย์ และ (4) การใช้กระบวนการย่อยแบบไม่ใช้อากาศเพื่อผลิตไฟฟ้า ความร้อน ร่วมกับการผลิตปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยอินทรีย์ พบว่า การนำของเสียมาใช้ผลิตไฟฟ้าและความร้อน (กรณีที่ 4) ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยสามารถลดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะความเป็นกรด การเจริญเติบโตที่ผิดปกติของพืชในแหล่งน้ำ การใช้น้ำ และการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล คิดเป็นร้อยละ 20, 87, 89, 15 และ 23 ตามลำดับเมื่อเทียบกับกรณีฐาน และมีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยอยู่ที่ 909 kg CO 2eq ต่อ 1 ตันน้ำนมที่ปรับแก้ไขมันและโปรตีน (FPCM) ผลการศึกษานำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ของเสียจากฟาร์มโคนม


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-16-08 ถึง 23:05