การประยุกต์ใช้อุปกรณ์แบบกระดาษและสมาร์ทโฟนสำหรับการตรวจวัดกรดเบนโซอิกในตัวอย่างเครื่องดื่ม

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งNakarin PENLAP, Anawat PINISAKUL and Nisakorn THONGKON

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

ชื่อชุดProcedia of Multidisciplinary Research

เลขในชุด5

Volume number1

หน้าแรก1

หน้าสุดท้าย11

จำนวนหน้า11

URLhttps://so09.tci-thaijo.org/index.php/PMR/article/view/2243

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและประยุกต์ใช้อุปกรณ์แบบกระดาษและสมาร์ทโฟนสำหรับการวิเคราะห์เชิงปริมาณของกรดเบนโซอิก โดยอาศัยอันตรกิริยาระหว่างกรดเบนโซอิกและอินดิเคเตอร์ เมทิล เรด บนกระดาษที่ผ่านการปรับสภาพด้วย tetradecyltrimethylammonium bromide (TTAB) โดยสีของเมทิล เรด เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสีเหลืองเป็นสีส้มและชมพูขึ้นกับความเข้มข้นของกรดเบนโซอิก โดยงานวิจัยนี้ทำการศึกษาปริมาตรของ TTAB ปริมาตรของกรดเบนโซอิก ความเข้มข้นของเมทิล เรด และระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจวัดเพื่อให้ได้สภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมอุปกรณ์แบบกระดาษ ภาพถ่ายดิจิตัลของอุปกรณ์แบบกระดาษได้จากการใช้สมาร์ทโฟนและใช้แอปพลิเคชัน Colr Grab ในการวัดค่าความเข้มสี RGB โดยพบว่าค่าความเข้มสี ΔG มีความเป็นเส้นตรงที่สัมพันธ์กับความเข้มข้นของกรดเบนโซอิกในช่วง 20-200 mg/L (R2 = 0.995) มีค่าขีดจำกัดของการตรวจวัด (LOD) เท่ากับ 16.02 mg/L และ ค่าขีดจำกัดเชิงปริมาณ (LOQ) เท่ากับ 48.54 mg/L ใช้เทคนิคการสกัดด้วยตัวทำละลายในการกำจัดตัวรบกวน เช่น กรดซิตริกและกรดแอสคอร์บิกในขั้นตอนการเตรียมตัวอย่าง วิธีวิเคราะห์ที่ได้นำเสนอ นำไปประยุกต์ใข้กับตัวอย่างเครื่องดื่มได้อย่างประสบความสำเร็จ มีค่าร้อยละการกลับคืนอยู่ในช่วง 101-109% และมีค่าร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์อยู่ในข่วง 0.76-0.96 %


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-16-08 ถึง 23:05