การพัฒนาระบบเตือนความปลอดภัยในอุปกรณ์กายภาพบำบัดด้วยรังสีอินฟราเรดเพื่อผู้สูงวัย
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Rasita Pookaroon, Paphonson Limwanichrat, Hussamon Fudulyawajananont, Rut Manotum, Thitima Wongsheree*, Pannathorn Thammabut
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
ชื่อชุด: Healthy aging in the new-era
Volume number: 22
หน้าแรก: 80
หน้าสุดท้าย: 81
จำนวนหน้า: 2
URL: https://www.journalggm.org/view-article-139/
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
อุปกรณ์กายภาพบำบัดด้วยรังสีอินฟราเรดระยะไกล เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้บำบัดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรค Covid-19 อุปกรณ์ดังกล่าวทวีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากผู้สูงอายุสามารถบำบัดเองได้ที่บ้าน ซึ่งเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่พบได้บ่อย อย่างไรก็ตาม รังสีอินฟราเรดระยะไกลนี้ สามารถก่อให้เกิดการไหม้ขึ้นได้ ถ้าหากใช้กับบริเวณเดิม ระยะที่ไม่เหมาะสมหรือใช้เวลานานเกินไป จากการสำรวจความต้องการเกี่ยวกับอุปกรณ์ฯ ในผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 23 คน พบว่า มีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 65 เคยใช้อุปกรณ์ฯ และ เกินกว่าร้อยละ 50 มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการบำบัดด้วยรังสีอินฟราเรด ขณะที่ ต้องการอุปกรณ์ฯ ราคาเฉลี่ยไม่เกิน 3,000 บาท ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าว ส่วนใหญ่ไม่มีระบบความปลอดภัยในการใช้งาน จึงอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้งานได้ ดังนั้น ศึกษาครั้งนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อ พัฒนาระบบเตือนความปลอดภัยในอุปกรณ์กายภาพบำบัดด้วยรังสีอินฟราเรด โดยเริ่มต้นทำการทดลองเพื่อหาระยะห่างที่ปลอดภัยกับผู้ใช้งาน ด้วยการใช้หนังหมูที่มีค่าการถ่ายเทความร้อนที่ใกล้เคียงกับผิวหนังมนุษย์ที่สุด โดยอ้างอิงจากค่าความความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ฯ ที่มีค่าความแตกต่างของอุณภูมิของชิ้นตัวอย่างก่อนและหลังการบำบัดด้วยรังสี ไม่เกิน 5.40 องศาเซลเซียส ทำการทดสอบที่ระยะห่างระหว่างแหล่งความร้อนและตัวอย่าง ที่ 20, 25, 30, 35 และ 40 เซนติเมตร เป็นเวลา 60 นาที บันทึกค่าอุณหภูมิจาก sensor ทุก ๆ 10 นาที ผลการทดลองพบว่า ระยะห่างและระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ 35 เซนติเมตร เป็นเวลา 40 นาที โดยชิ้นตัวอย่างหนังหมูมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็น 3.34 องศาเซลเซียส ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการใช้กายภาพบำบัดและไม่มีการไหม้ ทำการพัฒนาระบบควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ด้วยการต่อบอร์ด Arduino UNO R3 เข้ากับ Relay Module, Active Buzzer และ Ultrasonic Module HC-SR04 ซึ่งจะส่งเสียงเตือนเมื่อผู้ใช้อยู่ในระยะที่ไม่เหมาะสม จากการทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ พบว่า ระบบความการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ ให้สั่งการหยุดการทำงาน ตามระยะทางที่กำหนด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบเตือนนี้ มีความแม่นยำถึงร้อยละ 90 นอกจากนี้ระบบจะหยุดการทำงานของอุปกรณ์เมื่อระยะเวลาครบ 40 นาที หลังการเริ่มทำการกายภาพบำบัด
คำสำคัญ
Elderly