ผลของการเติมสตรอนเชียมต่อโครงสร้างจุลภาคและสมบัติเชิงกลของอะลูมิเนียมเกรด A356 ในแม่พิมพ์ถาวรและแม่พิมพ์ทรายสำหรับอุตสาหกรรมกระป๋อง
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: อวยชัย วงศ์รัตน์, ศุภฤกษ์ บุญเทียร, เทิดศักดิ์ อาลัย และ พยูร เสนทองแก้ว
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
ชื่อชุด: Multidisciplinary & Innovative Approaches for Sustainable Development
หน้าแรก: 404
หน้าสุดท้าย: 409
จำนวนหน้า: 6
URL: https://www.tsme.org/me-nett/me-nett2023/index.php/proceeding
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
อะลูมิเนียมเกรดรีดนิยมเลือกใช้เป็นวัสดุในอุตสาหกรรมการผลิตกระป๋องเครื่องดื่มโดยเฉพาะเกรด5182 และ A356 ใน ขณะเดียวกันอะลูมิเนียมเกรดหล่อก็ได้รับความนิยมในการใช้ผลิตเป็นชิ้นส่วนยานยนต์เนื่องจากมีความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง ซึ่งถ้า สามารถนำเทคนิคการหล่ออะลูมิเนียมมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตกระป๋องจะเป็นการลดต้นทุนทางวัตถุดิบลงได้
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลการใช้ซ้ำอะลูมิเนียมฝากระป๋องร่วมกับอะลูมิเนียมหล่อเกรด A356 ในอัตราส่วนอะลูมิเนียม ฝากระป๋องร้อยละ 10 ร่วมกับผลของการเติมสตรอนเซียมที่ปริมาณร้อยละ 0.04 โดยทำการหลอมและเทลงในแบบหล่อทรายและ แบบหล่อถาวรโดยมีอัตราการเย็นตัวต่างกัน ผลการศึกษาพบว่าการเติมสตรอนเซียมร้อยละ 0.04 ส่งผลให้ความต้านทานแรงดึง และความแข็งในแบบหล่อทรายเพิ่มขึ้น 42.86 เปอร์เซนต์ และ 6.98 เปอร์เซนต์ตามลำดับ ในแบบหล่อถาวรความต้านทานแรงดึง และความแข็งเพิ่มขึ้น 18.66 เปอร์เซนต์ และ 4.7 เปอร์เซนต์ เมื่อเติมฝากระป๋องร้อยละ 10 ร่วมกับสตรอนเซียมร้อยละ 0.04 ของ แบบหล่อทรายพบว่าความต้านทานแรงดึงและความแข็งมีค่าเพิ่มขึ้น 56.59 เปอร์เซนต์ และ 29.27 เปอร์เซนต์ตามลำดับ ในแบบ หล่อถาวรพบว่าความต้านทานแรงดึงและความแข็งมีค่าเพิ่มขึ้น 23.25 เปอร์เซนต์ และ 23.42 เปอร์เซนต์ตามลำดับ และพบว่า อัตราการเย็นตัวที่เพิ่มขึ้นในแบบหล่อถาวรและปริมาณสตรอนเทียมส่งผลต่อโครงสร้างจุลภาคทำให้สมบัติทางกลของอะลูมิเนียม เพิ่มสูงขึ้น
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง