การกำจัดฟอร์มาลดีไฮด์ด้วยเส้นใยที่เคลือบไทเทเนียมไดออกไซด์
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Surapat Pansumrong, Kridsada Faksawat, Aekgaran Sangmala, Patcharin Naemchanthara, Weeranut Kaewwiset and Kittisakchai Naemchanthara
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2022
หน้าแรก: 88
หน้าสุดท้าย: 98
จำนวนหน้า: 11
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาการเตรียมเส้นใยที่เคลือบด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาไทเทเนียมไดออกไซด์ (titanium dioxide; TiO2) เพื่อกำจัดฟอร์มาลดีไฮด์ โดยเส้นใยถูกเคลือบด้วยสารละลาย TiO2 ความเข้มข้นแตกต่างกันที่ 10, 20, 30, 40 และ 50% w/v จากนั้นโครงสร้างผลึกของตัวเร่งปฏิกิริยา TiO2 ถูกตรวจสอบด้วยเครื่องวิเคราะห์การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (X-ray diffraction; XRD) จากผล XRD พบว่าโครงสร้างผลึกของ TiO2 ประกอบด้วยโครงสร้างผลึกแบบอะนาเทส (anatase) และรูไทล์ (rutile) หลังจากนั้นเส้นใยที่เคลือบด้วย ตัวเร่งปฏิกิริยาถูกนำมาทดสอบการกำจัดฟอร์มาลดีไฮด์ โดยใช้ฟอร์มาลดีไฮด์ที่มีความเข้มข้นเริ่มต้น 5 ppm ในระบบปิดภายใต้การควบคุมแสงอัลตราไวโอเลต นอกจากนี้ศึกษาจำนวนตัวอย่างเส้นใยที่เคลือบด้วย ตัวเร่งปฏิกิริยา TiO2 โดยปรับเปลี่ยนจำนวนตัวอย่างที่ 5, 10, 15, 20 และ 25 ตัวอย่าง จากผลการทดลอง พบว่าการกำจัดฟอร์มาลดีไฮด์มากขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของความเข้มข้นตัวเร่งปฏิกิริยา TiO2 และจำนวนตัวอย่างเส้นใย ยิ่งไปกว่านั้นการใช้แสงอัลตราไวโอเลตสามารถกระตุ้นให้ตัวเร่งปฏิกิริยา TiO2 กำจัดฟอร์มาลดีไฮด์ได้มากขึ้น ซึ่งมีพฤติกรรมการลดลงของฟอร์มาลดีไฮด์เป็นแบบเอกซ์โพเนนเชียล นอกจากนี้ประสิทธิภาพในการกำจัดฟอร์มาลดีไฮด์เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของความเข้มข้นตัวเร่งปฏิกิริยา TiO2 และจำนวนตัวอย่างเส้นใยด้วย โดยเส้นใยที่เคลือบด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา TiO2 ที่ความเข้มข้น 50% w/v จำนวน 25 ตัวอย่างมีประสิทธิภาพสูงถึง 94.00% จากผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าเส้นใยที่เคลือบด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา TiO2 สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นวัสดุกรองอากาศสำหรับการกำจัดฟอร์มาลดีไฮด์ได้
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง