สังเคราะห์และลักษณะเฉพาะของไฮดรอกซีอะพาไทต์จากเกล็ดปลานิลด้วยเทคนิคทางความร้อน
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Jongkon Kaeonin, Kridsada Faksawat, Kanokwan Boonsook, Patcharin Naemchanthara, Weeranut Kaewwiset and Kittisakchai Naemchanthara
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
หน้าแรก: 605
หน้าสุดท้าย: 613
จำนวนหน้า: 9
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมและการสังเคราะห์ไฮดรอกซีอะพาไทต์จากเกล็ดปลานิล โดยนำเกล็ดปลานิลต้มในน้ำเดือดเพื่อกำจัดเนื้อเยื่อและสิ่งสกปรกต่าง ๆ สำหรับการกำจัดโปรตีนและเจลาตินนั้น
จะทำได้โดยการนำเกล็ดปลานิลแช่ในสารละลายไฮโดรคลอริกและสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ตามลำดับ จากนั้นนำเกล็ดปลานิลบดและเผาที่อุณหภูมิแตกต่างกันที่ 400, 800 และ 1,200°C โครงสร้างผลึกของเกล็ดปลานิลก่อนและหลังการเผาที่อุณหภูมิแตกต่างกันจะศึกษาด้วยเครื่องวิเคราะห์การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (XRD) นอกจากนี้หมู่ฟังก์ชันทางเคมีและรูปร่างสัณฐานของเกล็ดปลานิลทั้งก่อนและหลังการเผาที่อุณหภูมิแตกต่างกันนั้นจะวิเคราะห์ด้วยเครื่องวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันทางเคมีด้วยแสงอินฟราเรด (FTIR) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) ตามลำดับ โดยผลของการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์พบว่าโครงสร้างผลึกของเกล็ดปลานิลก่อนการเผาประกอบด้วยบรูไซต์และไฮดรอกซีอะพาไทต์ แต่อย่างไรก็ตามโครงสร้างของเจลาตินและคอลลาเจนนั้น ไม่สามารถตรวจวัดด้วยการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ได้ แต่หมู่ฟังก์ชันของ amide III ที่บ่งบอกถึงโครงสร้างของเจลาตินและคอลลาเจนสามารถตรวจวัดได้จากเครื่องวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันทางเคมีด้วยแสงอินฟราเรดและเมื่อเกล็ดปลานิลที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิ 400°C นั้น ผลของรูปแบบการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ของเกล็ดปลามีเพียงเฟสของไฮดรอกซีอะพาไทต์เท่านั้น นอกจากนี้ความเป็นผลึกของไฮดรอกซีอะพาไทต์จะสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิการเผา โดยสามารถยืนยันผลการทดลองนี้ด้วยผลการวิเคราะห์จากเครื่องวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันทางเคมีด้วยแสงอินฟราเรดและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ดังนั้นงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าเกล็ดปลานิลสามารถใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับการสังเคราะห์ไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่บริสุทธิ์และมีความเป็นผลึกสูงได้
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง