ผลสะท้อนกลับจากการพัฒนาอาจารย์พิเศษด้วยการรูปแบบการสอนแบบทักษะปฏิบัติ ในรายวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรณีศึกษา : การพัฒนาอาจารย์ด้วยกิจกรรมการลอกลาย

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งChanen Munkong, Rasita Raksakul and Rawat Yoosuk

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

ชื่อชุดAcademic Honesty in Disruptive Education: A Challenge to Global Citizens

หน้าแรก65

หน้าสุดท้าย79

จำนวนหน้า15

URLhttps://educonf.psu.ac.th/download/proceedings/11thPSUEd.pdf


บทคัดย่อ

การพัฒนาอาจารย์ให้ยอมรับวิธีการสอนใหม่ไปใช้พัฒนาทักษะทางปัญญาเป็น ความท้าทายของส านัก
วิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในการขับเคลื่อนการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ 
บทความวิจัยนี้น าเสนอแนวคิดในการพัฒนาอาจารย์ ที่ได้จากการศึกษาผลสะท้อนกลับที่รับจากผู้เข้าร่วมการ
อบรมเชิงปฏิบัติการจ านวน 58 คน ได้ผ่านการลงมือฝึกปฏิบัติการเรื่อง การสอนทักษะทางปัญญาด้วยวิธีการ
สอนตามล าดับขั้นฐานทักษะ โดยใช้กิจกรรมการลอกลายเป็นสื่อการสอน คณะวิจัยใช้การสังเกตแบบมีส่วน
ร่วม (Participant Observation) จากนั้นน าข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content
Analysis) และการวิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytic Induction) ในประเด็นเกี่ยวกับการเรียนรู้ในมุมมองเนื้อหา 
การพัฒนาด้านทักษะ และทัศนคติที่เกิดขึ้นกับกิจกรรม ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์ตรงในเชิง
กระบวนการ ได้รับการตอบรับดีมากจากอาจารย์ที่เข้าร่วมการอบรม การใช้กลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถ
กระตุ้นให้เกิดการประยุกต์ปรับใช้แนวคิดในการสอนได้  ในการจัดกิจกรรมพัฒนาอาจารย์ มีกลไกที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการอบรม ได้แก่ ปฏิกิริยาของผู้เรียนในระหว่างการเรียนรู้สิ่งใหม่ ลักษณะของวิธีการสอนที่
ให้ประสบการณ์ตรง และเทคนิคที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะการสอนให้อาจารย์


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2023-30-08 ถึง 23:05